ข้อความต้นฉบับในหน้า
ถึงได้ทั่วไป และคัมภีร์ที่พบบังเป็นจำนวนน้อย41 ไม่อาจเป็นตัวของคำสอนทั้งหมดที่เคยสอนกันอยู่ในภูมิภาคคันธาระได้ ส่วนคัมภีร์สันสกฤตที่พบ แม้จะมีจำนวนมากและเป็นคัมภีร์เก่าแก่ แต่ก็ไม่เท่าไปกว่าฤกษ์เริ่มต้นของการแปลคัมภีร์พุทธเป็นภาษาจีน งานวิจัยนี้จึงรวบรวมการศึกษาคัมภีร์เก่าแก่เหล่านี้และคัมภีร์จีนไว้ด้วย
2.6. พระพุทธศาสนาในคันธาระและเอเชียกลางกับการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในประเทศจีนยุคแรก
2.6.1. พระพุทธศาสนาในคันธาระและเอเชียกลาง
โดยสภาพทางภูมิศาสตร์ คันธาระนับเป็นปากประตูของอินเดียในการที่จะออกออกไปสู่โลกกว้างผ่านเส้นทางสายไหม จึงเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนศิลปวิทยาการ วัฒนธรรม ความเชื่อ ตลอดจนศาสนาของหลายเชื้อชาติล่วงจากเส้นทางแห่งนี้
คันธาระและเอเชียกลางเป็นดินแดนที่มีความคาบเกี่ยวกันในเรื่องของประวัติศาสตร์ (Samad 2011: 223) ภาษา และวัฒนธรรม ดังนั้น แม้ว่าดินแดนทั้งสองจะมีพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่อาจแบ่งแยกจากกันได้ในระดับหนึ่ง งานเขียนทางวิชาการเกี่ยวกับการเผยแพร่พระพุทธศาสนาหลายชิ้นยังคงกล่าวถึง
_____________________________________________________________________________
41 เฉพาะคัมภีร์คันธารี หากยกเว้นที่พบใน Schoyen collection ซึ่งแตกหักเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยไม่ปะติดปะต่อกันแล้ว ที่พบเป็นชิ้นเป็นฉบับรวมได้ไม่เกิน 100 ชิ้น ซึ่งทั้งหมดนี้ยังมีความแตกหักมากน้อยต่างกัน แต่ยังเป็นชิ้นต่อเนื่องมากกว่า