ข้อความต้นฉบับในหน้า
หลักฐานธรรมภายในคัมภีร์พุทธโบราณ 1 ฉบับวิชาการ
มีบางอย่างคล้ายคลึงกับมหายาน จึงนำเสนอว่า น่าจะเป็นของมุสสรวาสติวาม ที่เป็นต้นสายของมหายานมากกว่า (Yamabe 2006: 326) แต่ไม่ว่าจะเป็นกรณีใดก็ตาม ยังไม่มีวิชาการคนใดเลยที่ระบุว่านี้เป็นของมหายานแล้ว ส่วน Röllicke ได้สรุปไว้ว่า คู่มือปฏิบัติธรรมนี้เป็นคัมภีร์ที่แสดงความเป็นรอยต่อระหว่างมหายานกับนิกายนิยมหลักดังเดิมที่ชัดเจน (Röllicke 2006) ซึ่งก็นัยชี้ให้ความเห็นไว้อย่างน่สนใจว่า สิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นรอยต่ออึนอาจไม่ได้แสดงถึงการเปลี่ยนยุคของคำสอนแต่โดยใด หากเป็นไปได้ที่จะเป็นคำสอนที่เป็นแกนกลางสากลที่นิยามหลักและมหายานต่างก็ใช้เหมือนๆ กันและชาวพุทธมหาสรวัสติวามยังเก็บรักษาไว้
3.3.2.4. ธรรมปฏิบัติของพระโพธิสัตว์108
คัมภีร์อีกชิ้นหนึ่งที่พบในเอเชียกลางและเก็บรักษาในฮอร์เนิลคอลเล็กชั่น (Hoernle MS., No. 144, SA, 5) เขียนด้วยอักษรปุตตะตัวตรง ในภาษาสันสกฤตแบบผสม อายุคัมภีร์รวมนักธรรมระหว่างพระพุทธศาสนารุ่น 12-14 ยังไม่มีการระบุว่าเป็นคัมภีร์หรือพระสูตรใดแน่นอน แต่แนวการเขียนเป็นแบบพระสูตรมหายาน กล่าวถึงการทำสมาธิของพระโพธิสัตว์ 3 ขั้นตอน โดยตรีกะลึกถึงพระพุทธเจ้าในปัจจุบัน หรือที่ปรากฏเฉพาะหน้า ซึ่งมีอิทธิพลทำให้บารมีเต็มเปี่ยม อินทรีย์แก่กล่อม กุลสมบัติทั้งปวงเจริญงอกงามเพื่อการบรรลุพระโพธิญาณ และอุตสาหมุ่งทั้งปวงถึงความขาดสุข ดับสลายไป ไม่ส่งผลอัคติต่อไป (Thomas 1916a)
108 เนื้อหาจากงานวิจัย “ร่องรอยวิชาชรรรมในคัมภีร์และเอเชียกลาง” (ชนิดา จันทร์ศรีโสภา 2557)