ข้อความต้นฉบับในหน้า
องค์กรที่ว้างใหญ่ไม่มีประมาณนั่นก็เป็นการแสดงวิธีการอยู่ในตัว คือสอนให้ระลึกถึงพระพุทธคุณ เป็นการบอกวิธีการโดยย่อเช่นเดียวกันกับที่พบในพระไตรปิฎกบาลี และที่พบในคาถาธรรมกายดังกล่าวมาแล้ว (ดู 4.1.1.2) ซึ่งอาจถือว่าเป็นเรื่องปกติของการบันทึกคัมภีร์ที่มีเนื้อหาในลักษณะนี้
องค์นี้มีข้อสังเกตว่าจำนวนการประพันธในคัมภีร์จิตรคำอธิบายลักษณะของการอธิบายคำที่พบในพระไตรปิฎกบาลีโดยมีถ้อยคำ จำนวน และเนื้อหาหลายตอนคล้ายคลึงกันกับที่พระพุทธโฆษาจารย์ใช้ในการเรียงเรียงคัมภีร์สมณพลาสาทิกา อรรถกาถาของพระวันาปิฏก59 ความคล้ายคลึงกันของการใช้ถ้อยคำและเนื้อหาที่บันทึกไว้ในคัมภีร์นี้จะสะท้อนความเข้าใจของชาวพุทธในยุคโบราณอย่างชัดในพุทธศตวรรษที่ 11-16 เกี่ยวกับพุทธคุณและพระธรรมกายดังที่แสดงไว้ข้างต้น
4.2.1.3. พุทธานุสติในคัมภีร์มูลลักษณ์มุฐานะ
ในคัมภีร์มูลลักษณ์มุฐานะบันทึกปะเหม็ด (4.1.1.4) พบเนื้อหาที่แนะนำการเจริญพุทธานุสติ 2 ครั้ง ครั้งแรกเป็นคำแนะนำการเจริญสมาธิจากแบบพุทธานุสติ โดยตรง ส่วนครั้งที่สองเป็นคำแนะนำใน การ "บูชาขวัญชีวิต" ซึ่งมีเนื้อหาแนะนำการเจริญพุทธานุสติเช่นเดียวกัน
59 ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากงานวิจัย "ร่องรอยธรรมในคัมภีร์จิตรคำอธิบาย" (สุปราณี พินิจพงศ์ 2557)
60 ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากงานวิจัย "สมาธิถาวรในคัมภีร์อธิบายธรรม" (ภิชัย เอื้อเทมัย 2557)