ข้อความต้นฉบับในหน้า
ความเห็นว่ามาจเขียนในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 มากกว่า
เซิร์คเกอร์ (Zürcher 1990: 159-164) อธิบายถึงลักษณะของพระพุทธ
ศาสนาในยุคนี้ว่า มีปรากฏการณ์อย่างรวมกันคือ
1) เป็นการบูชาที่ผสมผสานความเชื่อทั้งเทวาหวางหล่าของเถ่า กับ
พระพุทธเจ้าในพระพุทธศาสนา
2) ชาวพุทธใหม่ในจีนเริ่มให้ความสนใจในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ความ
ต้องการศึกษาเนื้อหาคำสอนเหล่านี้เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการเปลัมคัมภีร์โดย
กลุ่มพระสงฆ์ชาวต่างชาติจตุรามกับลูกศิษย์ชาวจีน
3) การนำเอาหลักการทางพระพุทธศาสนามาผสมผสานกับลัทธิความ
เชื่อพื้นเมือง
2.6.4. การแปลพระไตรปิฎกในประเทศจีน
เมื่อพระพุทธศาสนาได้รับการประดิษฐานในประเทศจีนแล้ว พันกิจ
สำคัญอย่างยิ่งของพระธรรมทูตในสมัยนั้นคือการแปลพระสูตรจากต้นฉบับ
ดังเดิมเป็นภาษาจีน ซึ่งได้รับการสนต่อเนื่องมาเป็นเวลาพันปี จนกระทั่ง
พระสูตรที่สำคัญๆ ทั้งหมดได้รับการแปลออกมาจนครบในยุคราชวงศ์ถัง ต่อ
มาเป็นการแปลพระสูตรที่หลงเหลืออยู่ประปราย ซึ่งทั้งหมดถูกรวบรวมไว้ใน
ยุคราชวงศ์ถัง ส่วนพระไตรปิฎกบัไทโช Taishō Shinshū Daizōkyō (大
正新倉大藏經) ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 85 เล่มนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่น
ระหว่างปี พ.ศ. 2465-2476 (อัตรสุมาลย์ กีลสิงห์ 2525: 313)