ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 17
และในวัฏฏทุกข์ทั้งสิ้นฯ พระธรรมมี ๕ อย่าง ด้วยสามารถแห่ง
มรรค ๔ ผล ๔ และนิพพาน ๑ หรือมี ๑๐ อย่าง รวมทั้งปริยัติเข้า
ด้วย ฯ ก็แล การทรงไว้แห่งพระธรรมนี้ ได้แก่การขจัดกิเลสที่ให้เกิด
ในอบายเป็นต้นฯ บัณฑิตพึงเห็นสันนิษฐานว่า การขจัดกิเลสแห่ง
อริยมรรคและนิพพานทั้ง ๒ นั่น ย่อมได้โดยนิปปริยาน (โดยตรง)
และเพราะพระนิพพาน
เพราะอริยมรรคเป็นธรรมตัดกิเลสได้เด็ดขาด
เป็นเหตุสำเร็จประโยชน์ คือ ขจัดกิเลสได้แห่งอริยมรรคนั้น โดยความ
เป็นอารมณ์ ส่วนการขจัดกิเลสนั้น แห่งอริยาผลและปริยัติแม้ทั้ง ๒
ย่อมมีได้โดยปริยาย (โดยอ้อม) เพราะผลเป็นไปโดยเป็นคุณตาม
สมควรแก่มรรค ด้วยอำนาจสงบระงับกิเลส และเพราะปริยัติเป็นเหตุ
บรรลุมรรคผลและพระนิพพานนั้น ๆ
ที่ชื่อว่าสัทธรรม เพราะอรรถว่า เป็นธรรมของท่านผู้สงบ คือ
สัปบุรุษทั้งหลาย ได้แก่พระอริยาบุคคลทั้งหลาย หรือเป็นธรรมที่มีอยู่
ปรากฏอยู่ ไม่เหมือนอัตตา (ตน) ที่พวกเดียรถีย์กำหนด (คิดนึก)
ซึ่งไม่มีอยู่โดยปรมัตถ์ หรือเป็นธรรมอันบัณฑิตยกย่อง คือสรรเสริญ
แล้ว เพราะประกอบด้วยคุณมีความเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ดีแล้วเป็นต้น ไม่ใช่เป็นธรรมที่ถูกติเตียนโดยส่วนเดียว เหมือนธรรม
ของลัทธิภายนอกฉะนั้น ๆ
คณะนั้น ชื่อว่าหมู่ เพราะเป็นที่ชุมชนแห่งพระอริยบุคคลทั้งหลาย
และชื่อว่าสูงสุด เพราะประกอบด้วยคุณอันพิเศษ มีความเป็นหมู่ที่
ปฏิบัติดีแล้วเป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าสูงสุดกว่าคณะทั้งหลายหรือ