อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - วิถีจิตและการปรับอารมณ์ อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 159
หน้าที่ 159 / 442

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายเกี่ยวกับวิถีจิต รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์กับวิบากที่เกิดขึ้นในสภาวะต่างๆ เช่น ในช่วงเวลาสลบหรือใกล้ตาย ผ่านการใช้ภาพพจน์และอุปมาเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น จัดทำเพื่อสร้างความเข้าใจลึกซึ้งเกี่ยวกับอภิธัมมัตถสังคหบาลี.

หัวข้อประเด็น

-การทำงานของจิต
-อารมณ์และวิบาก
-ปัจจัยในการเกิดวิถีจิต
-อุปมาด้วยมะม่วง
-แนวทางการศึกษาพระอภิธัมม์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ન્ ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 159 [อธิบายวิถีจิต] บทว่า สมฺปฏิจฉนฺติ ได้แก่ เป็นเหมือนรับรูปนั้นนั่นแลไว้ บทว่า สนฺตีรยมาน คือ เป็นเหมือนกำหนดรูปนั้นนั่นแลด้วยดีฯ ชวนะที่ชื่อว่าได้ปัจจัย เพราะอรรถว่า ตนได้ปัจจัย ด้วยอำนาจ โยนิโสมนสิการ ฯ สัมพันธ์ความว่า ชวนะอย่างใดอย่างหนึ่งที่ได้ ปัจจัยแล้ว ฯ ชวนะแม้ ๖ และ ๕ ย่อมเป็นไปในเวลาสลบ และใน เวลาใกล้จะตาย เพราะฉะนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า โดยมาก ฯ บทว่า ชวนนุพนฺธานํ ความว่า ติดตามชวนะไปชั่วเวลาเล็กน้อย ดุจกระแสแม่น้ำไหลตามเรือที่ทวนกระแสน้ำไปฉะนั้น ๆ อารมณ์ของ ชวนะนั้น เป็นอารมณ์ของวิบากเหล่านี้ เพราะฉะนั้น วิบากเหล่านั้น จึงชื่อว่าตทารมณ์ ด้วยอำนาจการลบบทท่ามกลาง ดุจในคำว่า พฺรหฺมสโร เป็นต้น ฉะนั้น ๆ วิบากเหล่านั้นด้วยเป็นตทาลัมพนะด้วย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าตทาลัมพนปากะ ฯ บทว่า ยถารห์ คือ ตามสมควร แก่อารมณ์ชวนะและสัตว์ฯ แต่ว่า ท่านอาจารย์จักประกาศความเป็น ไป (ของตทาลัมพนะ) โดยประการอย่างนั้นเสียเองทีเดียว ฯ บทว่า ภวงฺคปาโตว ความว่า เหมือนจิตตกไปด้วยอำนาจแห่งภวังค์ ไม่ เป็นไปด้วยอำนาจแห่งวิถีจิต ฯ มีคำอธิบายที่ท่านกล่าวไว้ว่า จิต เกิดด้วยอำนาจภวังค์ฯ ก็ในอธิการนี้ พระอรรถกถาจารย์นำอุปมาด้วย มะม่วงเป็นต้นมาไว้ เพื่อเข้าในความเป็นไปแห่งวิถีได้โดยง่าย ๆ บรรดาอุปมาเหล่านั้น พึงทราบเฉพาะอุปมาด้วยมะม่วง ดังต่อไปนี้ คือ :-
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More