ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 226
และในทวารแห่งกรรม ๓ อย่าง บัณฑิตควรถือเอาโดยนัยอันมาแล้ว
ในปกรณ์ทั้งหลายมีอรรถกถาเป็นต้น
ન
[อธิบายความหมายของศัพท์ว่า ทาน เป็นต้น]
ธรรมชาติที่ชื่อว่าทาน เพราะอรรถว่า เป็นเหตุอันเขาให้แห่ง
วัตถุมีข้าวเป็นต้น ได้แก่เจตนาเป็นเหตุบริจาค ฯ ในบุญกิริยาวัตถุมี
ศีลเป็นต้น แม้ที่เหลือ ก็มีนัยอย่างนี้ ฯ ธรรมชาติที่ชื่อว่าศีล เพราะ
อรรถว่า ตั้งไว้ฯ ธรรมชาติที่ชื่อว่าศีล เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องตั้งมั่น
คือตั้งอยู่โดยชอบแห่งจิต ฯ อธิบายว่า ตั้งกายกรรมและวจีกรรมไว้ถูก
คือดำรงไว้โดยชอบฯ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าศีล เพราะอรรถว่า รวมเข้า
ไว้ อุ้มธารกุศลไว้ฯ ก็ความเป็นที่รองรับกุศลทั้งหลายไว้ ชื่อว่าการอุ้ม
ธารไว้ ในที่นี้ ฯ สมจริงตามพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเต้าตรัสไว้ว่า
"สีเล ปติฏฺฐาย"" (นรชนตั้งมั่นแล้วในศีล) ดังนี้เป็นต้น ฯ ธรรม
ชาติที่ชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถว่า เป็นเหตุอบรม คือส้องเสพ ได้แก่
เจริญกุศลธรรมฯ ที่ชื่อว่าอปจายนะ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุที่บุคคล
ประพฤติอ่อนน้อม คือกระทำสามีจิกรรมด้วยอำนาจการบูชาฯ ภาวะ
แห่งชนผู้ขวนขวายในการกระทำกิจนั้น ๆ ชื่อว่าเวยยาวัจจะ ๆ ที่ชื่อว่า
ปัตติทาน เพราะอรรถว่า เป็นเหตุที่บุคคลให้ส่วนบุญที่เกิดในสันดาน
ตนฯ ที่ชื่อว่าปัตตานุโมทนา เพราะอรรถว่า เป็นเหตุอนุโมทานส่วน
บุญฯ ที่ชื่อว่าธัมมัสสวนะ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุฟังธรรมฯ ที่ชื่อว่า
ห์นี้ไม่ปรากฏในที่อื่น ๆ ๒. สํ. ส. ๑๕/๒๐-
๑. วิเคราะห์นี