ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 418
ในการอธิษฐาน) ฯ ความไม่ออกก่อนเวลาที่กำหนดไว้ (หย่อนกว่า
เวลาที่กำหนดไว้) สามารถออกตามอำนาจตามที่กำหนดไว้ ชื่อว่า
วุฏฐานวสี (ความคล่องแคล่วในการออก) ฯ อธิบานไว้เท่านี้ ไม่ต้อง
เยิ่นเย้อนัก ๆ ก็ความคล่องแคล่วในการพิจารณา สำเร็จแล้วด้วยความ
คล่องแคล่วในการนึกนั่นแล ฯ จริงอยู่ ชวนะทั้งหลายในลำดับแห่ง
อาวัชชนะนั่นเอง ชื่อว่าปัจจเวกขณชวนะ ฯ
[อธิบายรูปฌานและอรูปฌาน]
ๆ ๆ ท่าน
คำว่า วิตกฺกาทิโอฬาริกงฺค์ ปหานาย ความว่า เพื่อความ
ไม่เกิดขึ้นแห่งองค์มีวิตกเป็นต้นที่หยาบ กว่าฌานมีทุติยฌานเป็นอาทิ
ในขณะแห่งฌาน ฯ บทว่า ปทหนฺโต คือ กระทำบริกรรมอยู่ๆ แต่
บัณฑิตพึงเห็นว่า อุปจารภาวนาของพระโยคีนั้น จัดว่าสำเร็จแล้ว
จำเดิมแต่ข่มความยินดีในธรรมมีวิตกเป็นต้นได้ ฯ บทว่า ยถาร คือ
สมควรแก่อารมณ์มีกสิณเป็นต้น ซึ่งเป็นอารมณ์ของฌานนั้น
อาจารย์กล่าวคำว่า อากาสวชชิเตสุ ดังนี้ ก็เพราะกสิณคืออากาศไม่
อาจจะเพิกถอนได้ ฯ บทว่า กสิณ ได้แก่ ปฏิภาคนิมิตที่เป็นกสิณ ฯ
บทว่า อุคุฆาเฏตฺวา ได้แก่ ยกเลิกด้วยอำนาจไม่ทำไว้ในใจ ฯ หลาย
บทว่า อนนุตวเสน ปริกมุม กโรนฺตสฺส ความว่า เมื่อพระโยคี
กระทำบริกรรม ปรารภอากาศว่า อากาศไม่มีที่สุด ๆ แต่ไม่ใช่กระทำ
บริกรรมว่า ไม่มีที่สุด ๆ อย่างเดียวฯ แม้ในวิญญาณัญจายตนะ ก็มี
นัยอย่างนี้ ฯ ท่านอาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า พระโยคีแม้ไม่กล่าวว่า
อนนฺต์ (ไม่มีที่สุด) ก็ควรทำไว้ในใจว่า อากาศ ๆ วิญญาณ ๆ ฯ