ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 164
วิบากเหล่านั้น ฯ เพราะเหตุนั้น นักปราชญ์จึงกำหนดปริตตารมณ์
ในคำว่า โวฏฐัพพนะเป็นไป ๒ ครั้งนี้ตามนัยที่มาในอรรถกถาทั้งหลาย
เท่านั้นนั่นแลฯ
สองบทว่า นตฺถิ วีถีจิตตุปปาโท ความว่า ความเกิดแห่งวิถีจิต
ไม่มี เพราะอติปริตตารมณ์แม้มีอายุชั่ว ๒ ขณะจิต โดยที่สุดอย่างสูงก็ไม่
เพียงพอเพื่อให้โวฏฐัพพนะเกิด ๒ ครั้งได้ ฯ มีอธิบายว่า จิตเป็นเหมือน
ตกภวังค์ฯ เพื่อแสดงผลแห่งอาธารณะ ในบทว่า ภวงคจลนเมว
ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า ไม่มีวิถีจิตเกิด ฯ แต่อาจารย์พวกอื่นแสดงผล
แห่งอวธารณะว่า ไม่มีภวังคุปัจเฉทะ ฯ แต่คำนั้น สำเร็จแล้วด้วย
คำว่า ไม่มีวิถีจิตเกิดนั่นแล แม้เมื่อมีวิถีจิตเกิดขึ้น ภวังค์ก็ขาดไป ฯ
แต่เพราะภวังค์ท่านมิได้กล่าวแยกกันไว้เป็นแผนก โดยชื่อว่าภวังคุปัจ
เฉทะ แม้ในหนหลัง ในอธิการแห่งอติปริตตารมณ์นี้ ท่านอาจารย์
จึงกล่าวคำว่า ไม่มีวิถีจิตเกิด ดังนี้ ไว้โดยไม่แปลกกันฯ ปัจฉิมวาระ
เท่านั้น ท่านอนุรุทธาจารย์กล่าวไว้ ในปกรณ์อภิธัมมัตถสังคหะนี้
ด้วยอำนาจโมฆวาร เพราะไม่มีวิถีจิตเกิดโดยประการทั้งปวงฯ แต่ใน
ปกรณ์อื่น (คือปรมัตถวินิจฉัย) แม้วาระที่ ๒ และวาระที่ ๓ ท่าน
กล่าวว่า โมฆวาร เพราะว่างจากตทาลัมพนะและชวนะ ฯ
[อธิบายวิสัยปวัติ]
ન
บทว่า อาลมพนภูตา คือ เป็นวิสัยและเป็นปัจจัย ฯ จริงอยู่
แม้ปัจจัย บัณฑิตก็เรียกว่าอารมณ์ ดุจในประโยคเป็นต้นว่า มาร
ย่อมได้โอกาส มารย่อมได้อารมณ์ ฯ เพราะเหตุนั้นนั่นแล บรรดา