ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 30
เมื่อใด บุคคลย่อมเป็นผู้เว้นจากโสมนัสในวิกัปทั้ง ๔ เพราะอาศัย
ความไม่สมบูรณ์แห่งกามทั้งหลายก็ดี เพราะไม่มีเหตุแห่งโสมนัสอย่างอื่น
ก็ดี เมื่อนั้น อกุศลจิต ๔ ดวงเหลือ สหรคตด้วยอุเบกขาย่อมบังเกิด
ขึ้น ฉะนี้แลฯ
ปิ ศัพท์ ในบทว่า อฏฺฐปิ เป็นสัมปิณฑนัตถะ (มีความ
ประมวลมาเป็นอรรถ)ฯ ด้วย ปี ศัพท์นั้น ท่านอนุรุทธาจารย์ย่อม
รวบรวมความที่จิตซึ่งสหรคตกับโลภะเหล่านั้นไว้หลายอย่าง โดยความ
ต่างแห่งความเป็นไปและความต่างแห่งกาลเทศะ สันดาน และ
อารมณ์เป็นต้น ตามสมควรแก่กรรมบถที่ได้อยู่ในอกุศลกรรมบถทั้งหลาย
โดยนัยที่ท่านกำลังจะกล่าวฯ
[อธิบายโทมนัสและปฏิฆะ]
ใจที่ชั่ว ชื่อว่าทุมนะ อีกอย่างหนึ่ง บุคคลชื่อว่าทุมนะ เพราะ
อรรถว่า มีใจชั่ว ภาวะแห่งใจชั่ว หรือบุคคลที่มีใจชั่วนั้น ชื่อว่า
โทมนัสฯ คำนี้เป็นชื่อแห่งทุกขเวทนาที่มีในใจ ฯ จิตที่สหรคตด้วย
โทมนัสนั้น เหตุนั้น จึงชื่อว่าโทมนัสสสหคตะ ฯ
મૈં
ที่ชื่อว่าปฏิฆะ เพราะอรรถว่า กระทบกระทั่งในอารมณ์ ได้แก่
โทสะ ฯ จริงอยู่ โทสะนี้ ย่อมเป็นไปดุจกระทบกระทั่งอารมณ์ เพราะ
มีความดุร้ายเป็นสภาพฯ แม้เมื่อจิตที่สหรคตด้วยโทมนัส ไม่ต่างกัน
ด้วยสามารถแห่งเวทนา เพื่อกำหนดจิตด้วยอำนาจแห่งธรรมที่ไม่ทั่วไป
จึงใส่โทมนัสศัพท์ไว้ฯ แต่บัณฑิตพึงเห็นว่า ความที่จิตประกอบด้วย
ปฏิฆะ ท่านอาจารย์กล่าวไว้ เพื่อแสดงความที่จิตทั้ง ๒ ควงเที่ยวไป
ร่วมกันโดยส่วนเดียว ฯ