ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 126
เตสุ ปน ดังนี้เป็นต้น เพื่อประมวลแสดงจิตที่ท่านกล่าวไว้แล้วโดย
ความต่างแห่งกิจอย่างนี้นั่นแล ด้วยอำนาจแห่งการนับกิจที่ได้อยู่ตาม
สมควรแก่ตน ฯ มีวาจาประกอบว่า จิตตุปบาทมีปฏิสนธิเป็นต้น บัณฑิต
ประกาศแล้ว โดยความต่างแห่งชื่อและกิจ คือโดยความต่างแห่งชื่อ
และกิจมีปฏิสนธิเป็นต้น ฯ อีกอย่างหนึ่ง จิตตุปบาทชื่อว่ามีปฏิสนธิ
เป็นต้น คือที่มีชื่อว่ามีปฏิสนธิเป็นต้นนั้น บัณฑิตประกาศไว้แล้ว ๑๔
อย่าง โดยความต่างแห่งกิจมีปฏิสนธิเป็นต้น และ ๑๐ อย่าง โดยความ
ต่างแห่งฐาน คือโดยประเภทแห่งฐานมีปฏิสนธิเป็นต้นนั้นแล ฯ เชื่อม
ความว่า บัณฑิตพึงแสดงจิตมีกิจ ๑ และฐาน ๑ มีกิจ ๒ และฐาน ๒
มีกิจ ๓ และฐาน ๓ มีกิจ ๔ และฐาน ๔ และมีกิจ ๕ และฐาน ๕
โดยลำดับ คือกิจ ๖๘-๒-๕-๘ และ ๒ ดังนี้ 1 ๆ
การสงเคราะห์ทวาร และจิตที่เป็นไปในทวาร ด้วยอำนาจแห่ง
การกำหนด ชื่อว่าทวารสังคหะฯ จักขุเป็นต้น ชื่อว่าทวาร เพราะ
อรรถว่า เป็นเหมือนประตุ เพราะความเป็นมุขแห่งความเป็นไปของ
อรูปธรรมทั้งหลาย มีอาวัชชนะเป็นต้นฯ บทว่า จกฺขุเมว ได้แก่จักขุ
ประสาทนั้นแลฯ อีกอย่างหนึ่ง ใจนั่นเอง เป็นทวารแห่งพวกมนะมี
อาวัชชนะเป็นต้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่ามโนทวารฯ บทว่า ภวงค์
ได้แก่ภวังค์ในระหว่างแห่งอาวัชชนะ ฯ เพราะเหตุนั้น ท่านพระ
โบราณาจารย์จึงกล่าวว่า
ส่วนภวังค์พร้อมทั้งอาวัชชนะ บัณฑิตทั้งหลาย
เรียกว่ามโนทวาร ฯ