ข้อความต้นฉบับในหน้า
အ
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 302
คือในท้องของมารดา ฯ คัพภเสยยกะเหล่านั้นนั่นแล ชื่อว่าสัตว์ เพราะ
เป็นผู้ข้องในอารมณ์มีรูปเป็นต้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าคัพ
ชื่อว่าคัพภเสยยก-
สัตว์ฯ ทสกะทั้ง ๓ ที่เรียกกันว่า กลดรูป ประมวลแล้วใสแจ๋ว ประ
มาณเท่าหยาดน้ำมันงาที่ไหลออกแล้ว เหลือติดปลายขนแกะเส้นหนึ่ง
ซึ่งจิ้มลงไปในน้ำมันงาที่ใสแล้วยกขึ้น ย่อมปรากฏแก่สัตว์พวกอัณฑชะ
และชลาพุชะ อย่างนี้ ฯ ในบางคราวก็ไม่มีกลลรูปด้วยอำนาจแห่งพวก
สัตว์ไม่มีภาวรูปฯ บทว่า ตโต ปร์ คือ ต่อจากปฏิสนธิ ฯ บทว่า
ปวตฺติกาเล ความว่า เพียงในสัปดาห์ที่ ๒ หรือตามมติของพระฎีกา
จารย์ ในสัปดาห์ที่ ๑๑ ฯ
บทว่า กเมน ความว่า ตามลำดับอย่างนี้ คือ ล่วงไปได้ ๗ วัน
นับแต่วันจักขุทสกะปรากฏ โสตทสกะปรากฎ ล่วงไปได้ ๓ วันนับแต่
วันที่โสตทสกะปรากฏนั้น ฆานทสึกะปรากฏ ล่วงไปได้ ๗ วันนับแต่วัน
ฆานทสกะปรากฏนั้น ชิวหาทสกะปรากฏขึ้น ๆ จริงอยู่ แม้ในอรรถกถา
พระอรรถกถาจารย์ก็ได้แสดงเนื้อความนี้ไว้เหมือนกัน ฯ
บทว่า ฐิติกาล ความว่า ตลอดเวลาที่ปฏิสนธิจิตตั้งอยู่ ๆ
ๆ
จริงอยู่ ความสืบต่อของรูปกลาป เกิดพร้อมกับปฏิสนธิจิต ย่อมยัง
อุตุชรูปให้เกิดขึ้นโดยลำดับเป็นต้นอย่างนี้ คือ ถึงฐานแห่งฤดูแล้วยัง
สุทธัฏฐกรูปให้เกิดในฐิติขณะแห่งปฏิสนธิจิตนั้น และที่เกิดแล้วใน
ฐิติขณะถึงฐานแห่งฤดูแล้ว ย่อมยังสุทธิฏฐกรูปให้เกิด ในภังคขณะแห่ง
ปฏิสนธิจิตนั้นฯ
คำว่า โอชาผรณมุปาทาย ความว่า จำเดิมแต่เวลาที่โอชะจาก