ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 425
ญาณ)ฯ ญาณที่เป็นไปด้วยอำนาจความเบื่อหน่าย แล้วต้องการจะ
พ้นไปจากสังขารทั้งหลาย ชื่อว่ามุญจิตุกัมยตาญาณ ฯ ญาณที่เป็นไปด้วย
อำนาจการกำหนดสังขารทั้งหลายอีก เพื่อให้อุบายแห่งความพ้นถึงพร้อม
(สำเร็จผล) ชื่อว่าปฏิสังขาญาณ ฯ ญาณที่เพ่งเฉยเป็นไปด้วยอำนาจ
การเว้นจากความน่ากลัว และความยินดี ในธรรมทั้งหลายที่พิจารณา
แล้ว ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ฯ ญาณที่อนุกูลแก่ความสำเร็จกิจแห่ง
ญาณทั้ง ๕ ข้างต้น (มีสัมมสนญาณเป็นต้น) และแก่โพธิปักขิยธรรม ๓๗
ในเบื้องบน ชื่อว่าอนุโลมญาณ ฯ
มรรคชื่อว่าสุญญตะ เพราะเป็นสภาพว่างจากตัวตน ชื่อว่าวิโมกข์
เพราะอรรถว่า พ้นจากกิเลสมีสัญโญชน์เป็นต้น ๆ ชื่อว่าอนิมิตตะ
เพราะไม่มีนิมิตมีนิจนิมิตเป็นต้นฯ ชื่อว่าอัปปณิหิตะ เพราะความมุ่งมาด
ได้แก่ความปรารถนา คือตัณหาไม่มี
[อธิบายสีลวิสุทธิ]
ศีลที่ชื่อว่าปาฏิโมกข์ เพราะอรรถว่า ยังบุคคลผู้รักษาศีลนั้นให้
พ้นจากทุกข์มีอบายเป็นต้น ฯ ปาฏิโมกข์นั้นนั่นแล ชื่อว่าสังวร เพราะ
ป้องกันไว้จากทุจริตทางกายเป็นต้น และชื่อว่าศีล เพราะอรรถคือตั้ง
กายกรรมและวจีกรรมไว้ด้วยดี และรองรับกุศลธรรมไว้ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าปาฏิโมกขสังวรศีล ฯ ศีลที่เป็นไปด้วยสามารถการสำรวมอินทรีย์
มีใจเป็นที่ ๖ ในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น ชื่อว่าอินทรียสังวรศีล ฯ
ศีลที่เป็นไปด้วยอำนาจแห่งความบริสุทธิ์แห่งอาชีพ โดยเว้นจากมิจฉาชีพ
ชื่อว่าอาชีวปาริสุทธิศีล ฯ ศีลอาศัยปัจจัยทั้งหลาย ได้แก่ศีลคือการ
ન્