ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 195
กรรมเหมือนกันฯ แม้อรูปวจรกุศลนั้น ที่เป็นภาวนามัย ซึ่งอัปปนา
ก็มี 4 อย่างโดยความต่างแห่งอารมณ์ ฯ
บรรดากรรม ๔ อย่างเหล่านี้ อกุศลกรรมที่เว้นจากอุทธัจจะ
ย่อมให้เกิดปฏิสนธิ ในอบายภูมิ ฯ ส่วนในปวัติกาล อกุศลกรรม๑๒
อย่าง แม้ทั้งหมด ย่อมเผล็ดอกุศลวิบาก ๒ ในกามโลกแม้ทั้งหมดและ
ในอรูปโลกตามสมควร ฯ แม้กามาวจรกุศล ย่อมเกิดปฏิสนธิในกาม
สุคติอย่างเดียว ฯ อนึ่ง ในปวัติกาล ก็ย่อมเผล็ดมหาวิบาก และ
อเหตุวิบากทั้ง ๘ ในกามโลกแม้ทั้งหมด และในรูปโลกตามสมควร ฯ
บรรดากุศลกรรมที่ให้ผลอยู่แม้นั้น ติเหตุกกุศลกรรมอย่างสูง ให้
ติเหตุกปฏิสนธิแล้ว ย่อมเผล็ดวิบาก ๑๖ อย่างในปวัติกาล, ติเหตุกกุศล
กรรมอย่างต่ำ และทวิเหตุกกุศลกรรมอย่างสูง ให้ทวิเหตุกปฏิสนธิแล้ว
ย่อมเผล็ดวิบาก ๑๒ อย่าง ที่เว้นจากติเหตุกกรรม ในปวัติกาล ฯ
ส่วนทวิเหตุกกุศลกรรมอย่างต่ำ ให้ปฏิสนธิที่เป็นอเหตุกะอย่างเดียว
และย่อมเผล็ดเฉพาะอเหตุกวิบากในปวัติกาลเท่านั้น ฯ
[สังคหคาถา]
พระเถระทั้งหลายบางพวก กล่าวไว้ว่า
"กรรมที่เป็นอสังขาร ย่อมไม่ให้วิบาก
ที่เป็นสสังขาร (และ) กรรมที่เป็นสสัง
ขาร ย่อมไม่ให้วิบากที่เป็นอสังขาร" ฯ
ตามมติของอาจารย์เหล่านั้น บัณฑิตพึง
แสดงวิบาก ๑๒, ๑๐
และ ๘ ตามลำดับ