อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 231
หน้าที่ 231 / 442

สรุปเนื้อหา

ในหน้าที่ 231 ของอภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา กล่าวถึงการผนวกบุญกิริยาวัตถุ ๓ อย่าง ได้แก่ ปัตติทาน โดยอำนาจของทาน ศีล และภาวนา. ที่กล่าวถึงรูปาวจรกุศลว่ามีลักษณะเป็นมโนกรรมอย่างเดียว และได้มีการอธิบายถึงองค์ฌานที่เกิดจากการปฏิบัติด้วยอำนาจการก้าวล่วงองค์. นอกจากนี้ยังระบุอารมณ์ ๔ ประการในบริบทของกรรมที่เกี่ยวข้อง ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของจิตและกรรมในทางอภิธัมมาได้อย่างชัดเจน. เนื้อหานี้จะช่วยให้เข้าใจในแง่มุมของจิตและกรรม. ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ dmc.tv.

หัวข้อประเด็น

-บุญกิริยาวัตถุ
-มโนกรรม
-รูปาวจรกุศล
-องค์ฌาน
-อารมณ์ในกรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 231 เพราะผนวกบุญกิริยาวัตถุ ๓ อย่าง มีปัตติทานเป็นต้นนอกนี้เข้าใน บุญกิริยาวัตถุทั้ง ๓ ด้วยอำนาจทาน ศีล และภาวนา ด้วยประการ အာ อย่างนี้ " ฯ และท่านอาจารย์ก็ได้แสดงบุญกิริยาวัตถุไว้ ๓ ประการ เหมือนอย่างนั้นนั่นแล ในหนหลังๆ [อธิบายรูปาวจรกุศลที่เป็นฝ่านมโนกรรม] รูปาวจรกุศล ชื่อว่าเป็นมโนกรรมอย่างเดียว เพราะไม่เป็นไป ในทวารทั้งหลายมีกายทวารเป็นต้น โดยไม่มีจิตที่จะยังวิญญัติให้ตั้งขึ้น ๆ ก็แล รูปาวจรกุศลนั้น ชื่อว่าเป็นภาวนามัย เพราะไม่เป็นไปด้วยอำนาจ แห่งทานเป็นต้น ชื่อว่ายังไ ายังไม่ถึงอัปปนา เพราะกุศลที่เป็นไปในบรุพภาค เป็นกามาวจร ฯ บทว่า ฌานงฺคเภเทน ความว่า ก็แล รูปาวจรกุศลนั้น แม้ เมื่อมีอยู่มิใช่น้อย โดยความต่างแห่งปฏิปทาเป็นต้น ก็มีเพียง ๕ อย่าง โดยความต่างแห่งองค์ฌานที่เกิดขึ้น ด้วยอำนาจการก้าวล่วงองค์ฯ บทว่า อาลุมพนเภนเทน ความว่า โดยประเภทแห่งอารมณ์ ๔ เหล่านี้ คือ อารมณ์มี ๔ อย่าง คือ อากาศเพิกกสิณ ๑ ในที่มีอากาศเป็นอารมณ์ ๑ ความไม่มี แห่งใจนั้น ๑ วิญญาณที่มีความไม่มีแห่ง ใจนั้นเป็นอารมณ์ ๑ ฯ บทว่า เอตฺถ ได้แก่ บรรดากรรม ๔ อย่างเหล่านี้ ด้วยอำนาจ สถานที่ให้ผลฯ บทว่า อุทธจุจรหิต ความว่า อกุศลกรรม ๑๑ อย่าง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More