ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 122
โมมหจิตนั้น จึงชื่อว่ากุศลโดยสภาพ เมื่อเป็นเช่นนั้น แม้เหตุที่เหลือ
ก็ต้องมีชื่อว่าอกุศลเป็นต้น โดยสภาพ เพราะเหตุนั้น แม้สัมปยุตธรรม
ทั้งหลายที่ชื่อว่ากุศลเป็นต้นนั้น จึงไม่ต้องเนื่องด้วยเหตุ ดุจเหตุเหล่านั้น
มีชื่อว่ากุศลเป็นต้น ฯ ก็ถ้าที่ชื่อว่ากุศลเป็นต้นเนื่องด้วยเหตุ ในกาลนั้น
อเหตุกเหตุทั้งหลายจะต้องมีชื่อว่าอัพยากฤตไม่ได้ เพราะเหตุนั้น ไม่
ต้องแคะได้นักฯ แต่กุศลและอกุศลมีชื่อว่ากุศลเป็นต้น เนื่องด้วย
โยนิโสมนสิการและอโยนิโสมนสิการ ฯ ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลทำในในโดยแยบคาย กุศลธรรม
ทั้งหลานที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น และกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อม
เจริญมาขึ้น ดังนี้เป็นต้นฯ แต่พึงเห็นว่า อัพยากตธรรมทั้งหลาย
ชื่อว่าอัพยากฤต เนื่องด้วยสันดานที่ปราศจากอนุสัย เนื่องด้วยกรรม
และเนื่องด้วยสภาพที่หาวิบากมิได้ ฯ
ન
บัดนี้ เพื่อจะแสดงประเภทแห่งชาติของเหตุทั้งหลาย ท่านอาจารย์
จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า โลโภ โทโส จฯ การสงเคราะห์ซึ่งกิจทั้งหลาย
มีปฏิสนธิเป็นต้น ด้วยสามารถการจำแนก และซึ่งจิตทั้งหลายที่มีกิจ
นั้น ด้วยสามารถแห่งการกำหนด ชื่อว่ากิจจสังคหะฯ การสืบต่อ
ภพจากภพ ชื่อว่าปฏิสนธิกิจฯ ความที่จิตเป็นองค์แห่งภพ โดยเป็น
เหตุแห่งความเป็นไปไม่ขาดสาย ชื่อว่าภวังคกิจ ฯ กิจมีอมวัชชนกิจ
બૈં
เป็นต้น บัณฑิตพึงประกอบตามกระแสอรรถแห่งคำที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว
ในหนหลัง ตามสมควร ฯ
๑. นัย. องฺ. เอก. ๒๐/๑๕.