อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 200
หน้าที่ 200 / 442

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงแนวทางในการพิจารณาปฏิสนธิจิตและภวังคจิตในอภิธัมมัตถสังคหะ ซึ่งมีความสำคัญต่อการบรรลุถึงธรรมอันสงบและการหลุดพ้นจากความผูกพันต่างๆ ในภพ ถ้าผู้รู้พิจารณาแล้วเข้าถึงการตัดขาดจากเครื่องผูกมัด เกิดความประพฤติดีตามธรรม ซึ่งสุดท้ายจะสามารถสัมผัสถึงนิพพานได้.

หัวข้อประเด็น

-ปฏิสนธิจิต
-ภวังคจิต
-ความยั่งยืน
-นิพพาน
-อภิธัมมัตถสังคหะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 200 ฉันใด ปฏิสนธิจิต และภวังคจิต เป็นต้น ย่อมหมุนเวียนไปในภพอื่นอีก ฉันนั้น ๆ ก็พวกผู้รู้ พิจารณาปฏิสนธิจิตเป็นต้นนี้ (ว่า) ไม่ยั่งยืนถาวรแล้ว ได้บรรลุบทอัน ไม่มีจุติแปรผัน เป็นผู้ตัดเครื่องผูกมัด คือความเยื่อใยเสียได้ด้วยดี เป็นผู้มีวัตร เป็นอันดี (คือมีความประพฤติดี) ตลอด กาลนาน จักถึงธรรมอันสงบ (คือนิพพาน- ธาตุ อันหาอุปธิเหลือเศษมิได้) ฉะนี้และ ฯ ปริเฉทที่ ๕ ชื่อวิถีมุตตสังคหวิภาค ในอภิธัมมัตถสังคหะ และ จิตตเจตสิกสังคหวิภาค แม้โดยประการทั้งปวง ในอภิธัมมัตถสังคหะ จบด้วยประการฉะนี้ ฯ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More