ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 111
[สังคหคาถา]
เหตุที่เป็นอกุศลมี ๓ คือ โลภะ ๑ โทสะ ๑
โมหะ ๑ เหตุที่เป็นกุศล และอัพยากฤตก็มี ๓
เหมือนกัน คือ อโลภะ ๑ อโทสะ ๑ อโมหะ ๑
ท่านกล่าวจิตที่เป็นอเหตุกะไว้ ๑๘ ที่เป็นเอก
เหตุกะ ๒ ที่เป็นทุเหตุกะ ๒๒ ที่เหลือเป็น
ติเหตุกะ ๔๗ ฯ
ชื่อว่ากิจ ในกิจสังคหะ มี ๑๔ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งปฏิสนธิกิจ
ภวังคกิจ อาวัชชนกิจ ทัสสนกิจ สวนกิจ ฆายนกิจ สายนกิจ ผุสนกิจ
สัมปฏิจฉันนกิจ สันตีรณกิจ โวฏฐัพพนกิจ ชวนกิจ ตทาลัมพนกิจ
และจุติกิจ ฯ ก็ความต่างแห่งฐานของกิจเหล่านั้น พังทราบโดย ๑๐
ฐาน ด้วยอำนาจแห่งปฏิสนธิฐาน ภวังคฐาน อาวัชชนฐาน และ
ปัญจวิญญาณฐานเป็นต้นฯ บรรดากิจเหล่านั้น จิต ๑๕ คือ สันตีรณ
จิตที่สหรคตด้วยอุเบกขา ๒ มหาวิบากจิต ๘ และรูปารูปวิบากจิต ๕
(รูปาวจรวิบากจิต ๔ อรูปาวจรวิบากจิต ๔) ชื่อว่าปฏิสนธิภวังค์และ
จุติเป็นกิจ (มีกิจ คือ ปฏิสนธิ ภวังค์ และจุติ) ฯ แต่จิตที่มีอาวัชชนะ
เป็นกิจมี ๒ ฯ และจิตที่มีทัสสนะ สวนะ ฆายนะ สายนะ ผุสนะ
สัมปฏิจฉันนะเป็นกิจก็มีอย่างละ ๒ เหมือนกัน ฯ จิตที่มีสันตีรณะเป็น
กิจมี ๓ ฯ เฉพาะมโนทวาราวัชชนจิตให้โวฏฐัพพนกิจสำเร็จในปัญจ
ทวาร (ย่อมยังจิตที่มีโวฏฐัพพะเป็นกิจให้สำเร็จในปัญจทวาร) จิตที่
เป็นอกุศล อกุศล วิบากและกิริยา ๕๕ เว้นอาวัชชนจิตทั้งสองเสีย มี