อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 251
หน้าที่ 251 / 442

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงอวิชชาและตัณหาที่สัมพันธ์กับอนุสัย โดยนำเสนอว่าทั้งสองเป็นเหตุในการเกิดของสังขาร และวิเคราะห์ว่าทั้งหมดนี้มีผลต่อการสร้างความเป็นกรรม รวมถึงอิทธิพลที่ก่อให้เกิดวิญญาณในสภาวะต่างๆ ตัณหาและอวิชชานั้นมีบทบาทสำคัญในการคอยปกปิดโทษของอารมณ์และทำให้วิญญาณน้อมไปในอารมณ์ที่มีโทษ ซึ่งท่านอาจารย์ได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการอธิบายช่องทางที่เหล่าสัตว์เกิดในอบาย.

หัวข้อประเด็น

-อวิชชา
-ตัณหา
-อนุสัย
-สังขาร
-อภิธัมมา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 251 (มีได้) ไม่ผิด เพราะอวิชชาและตัณหาที่เกิดร่วมกับชวนะแม้เหล่านั้น เรียกว่าอนุสัย โดยความที่อวิชชาและตัณหาทั้ง ๒ นั้นเป็นเช่นเดียว กับอนุสัย" ดังนี้ ๆ เมื่อเป็นอย่างอื่น ก็ไม่มีการสงเคราะห์อวิชชา และตัณหาที่เกิดร่วมกับอกุศลกรรม หรือที่เกิดร่วมกับความปรารถนา ภพ และที่เกิดร่วมกับชวนะใกล้ต่อจุติ (เข้าในคำว่า "ถูกอวิชชา- นุสัยห้อมล้อม")ฯ อวิชชานั่นเอง ชื่อว่าเป็นอนุสัย เพราะว่านอน เนื่อง คือเป็นไป ด้วยอรรถว่า ยังละไม่ได้ ฯ อันสังขารซึ่งถูกอวิชชา นุสัยนั้นห้อมล้อม คือแวดล้อมฯ ตัณหานุสัยนั่นเองเป็นมูล คือเป็น ประธาน ได้แก่เป็นเหตุทำผลร่วมกันแห่งสังขารนี้ เพราะเหตุนั้น สังขารนั้น ชื่อว่ามีตัณหานุสัยเป็นมูลฯ บทว่า สงฺขาเรน ความว่า (ใจ) อันกุศลกรรมและอกุศลกรรม หรืออันความประชุมแห่งธรรมมีผัสสะที่สหรคตด้วยธรรมเป็นต้น หรือ อันความประชุมแห่งธรรมมีผัสสะเป็นต้นนั้น ที่เกิดร่วมกับชวนะใกล้ ต่อจุติให้เกิดอยู่ๆ แท้จริง ตัณหาให้วิญญาณน้อมไปในอารมณ์ที่มีโทษ อันถูกอวิชชาปิดบังไว้ สังขารตามที่กล่าวแล้ว ซึ่งเรียกกันว่า ขิปนก สังขาร (สังขารผู้ซัดไป) ย่อมชัดวิญญาณไป (ในอารมณ์มีกรรม เป็นต้น ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งปฏิสนธิ)ฯ เหมือนดังที่ท่านอาจารย์ทั้งหลาย กล่าวไว้ว่า "อวิชชาตัณหาและสังขาร ที่เกิดร่วมกับ จิตของเหล่าสัตว์ผู้เกิดในอบาย ปกปิด โทษของอารมณ์ และน้อม (วิญญาณ)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More