อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 136
หน้าที่ 136 / 442

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับอภิธัมมัตถสังคหบาลี ที่อธิบายถึงการดำเนินจิตที่สัมปยุตด้วยอภิญญา โดยการพิจารณาอารมณ์ ณ กาลต่าง ๆ เช่น การฟังธรรม และการบริกรรม อีกทั้งยังพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์กับจิตประเภทต่าง ๆ พร้อมทั้งบทเรียนที่เกี่ยวข้องกับพระเสขบุคคลและกิริยาชวนะ โดยมุ่งเน้นที่การรู้แจ้งและการวิเคราะห์จิตตามหลักอภิธัมมาที่กำหนดไว้

หัวข้อประเด็น

- อภิธัมมและการเข้าใจจิต
- ความสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์และการปฏิบัติ
- การพิจารณาธรรมและอภิญญา
- การฟังธรรมและการบริกรรมในกสิณ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 136 ของบุคคลอื่นเป็นอารมณ์ และในเวลากำหนดมรรคผลด้วยจิตที่สัมปยุต ด้วยอภิญญานั้นแล ย่อมมีแก่พระเสขบุคคลทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ท่านอาจารย์จึงทำการคัดค้านเฉพาะอรหัตตมรรคและอรหัตตผลเท่านั้น ฯ แต่กามาวจร มหัคคตะ บัญญัติ และนิพพานทั้งหลาย ย่อมถึงความ เป็นอารมณ์แก่กุศลชวนะทั้งหลาย ในการให้การพิจารณา การฟัง ธรรม การพิจารณาสังขาร และการบริกรรมที่เป็นไปในกสิณ โดย เคารพเป็นต้น แห่งพระเสขะและปุถุชน ในกาลบริกรรมแห่งอภิญญา ที่เป็นไปในอารมณ์นั้น ๆ ในกาลแห่งโคตรภูจิตและโวทานจิต และ ในกาลรู้แจ้งรูปเป็นต้นด้วยทิพจักษุเป็นต้นฯ สองบทว่า สพฺพตฺถาปิ สพฺพาลมุพนานิ มีความว่า จิต ๖ มีธรรมทั้งปวงเป็นอารมณ์ (มี อารมณ์ได้ทุกอย่าง) ด้วยอำนาจกามาวจร มหัคคตะ โลกุตตระทั้งหมด และบัญญัติ ชื่อว่าแม้โดยประการทั้งปวงฯ อธิบายว่า แต่หามีอารมณ์ ทั้งปวงโดยเฉพาะส่วน เหมือนอกุศลจิตเป็นต้นไม่ จริงอยู่ อารมณ์ อะไร ๆ ที่ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์แห่งกิริยาชวนะไม่มี ในเวลาที่กิริยาชวนะ เป็นไปในอำนาจแห่งญาณมีพระสัพพัญญุตญาณเป็นต้น และในเวลา ที่โวฏฐัพพนะเป็นไปในอำนาจแห่งโวฏฐัพพนะ ที่เป็นไปในเบื้องหน้า แห่งกิริยาชวนะเป็นต้นเหล่านั้น ฯ บรรดาอรูปทั้งหมด อรูปที่ ๒ และ ที่ 4 ชื่อว่ามหัคคตาลัมพนะ (มีมหัคคตะเป็นอารมณ์) เพราะมีอรูป ที่ ๑ และที่ ๓ เป็นอารมณ์ ฯ หลายบทว่า เสนานิ ฯเปฯ ลมุพนานิ ความว่า จิต ๒๑ คือรูปาวจร ๑๕ และอรูปที่ ๑ ที่ ๓ ชื่อว่ามีบัญญัติ เป็นอารมณ์ เพราะเป็นไปในบัญญัติมีกสิณเป็นต้น ๆ จิต ๒๕ ด้วย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More