อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 150
หน้าที่ 150 / 442

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการสงเคราะห์จิตตุปบาทผ่านการตีความอภิธัมมัตถสังคหะ โดยแบ่งแยกเป็นภูมิและบุคคลเพื่อแสดงการเปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์ระหว่างจิต โดยอ้างอิงจากการแสดงปวัติสังคหะ และครอบคลุมการศึกษาที่รู้จักในพุทธศาสตร์ โดยมีคุณพระอริยเมธีเป็นผู้แปล ทั้งนี้การแชร์ความเข้าใจในเส้นทางของจิต ที่มีการพัฒนาตลอดเวลา ผ่านความเข้าใจในอภิธัมมัตถและการคิดอย่างละเอียด.

หัวข้อประเด็น

-อภิธัมมัตถสังคหะ
-การสงเคราะห์ประเภทจิตตุปบาท
-การวิเคราะห์จิตและอารมณ์
-บทบาทของพระอริยเมธีในงานแปล

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 150 อภิธัมมัตถสังหคหฎีกาแปล พรรณนาความปริเฉทที่ ๔ [ข้อความเบื้องต้น] ประกอบความว่า ข้าพเจ้าครั้นได้กระทำการสงเคราะห์ประเภท แห่งจิตตุปบาท คือขันธ์ทั้ง ๔ อันยอดยิ่ง คืออุดม โดยวิภาคมีเวทนา สงเคราะห์เป็นต้น โดยประการอย่างนี้ คือโดยนัยตามที่กล่าวแล้ว จักกล่าวการสงเคราะห์ ชื่อว่าปวัติสังคหะ คือการสงเคราะห์ที่มีชื่อ อย่างนั้น แห่งจิตตุปบาท ในปฏิสนธิกาลและปวัติกาล ที่ท่านกำหนด โดยความต่างแห่งภูมิทั้ง ๓ มีกามาวจรภูมิเป็นต้น และแห่งบุคคลมี ทวิเหตุกบุคคลเป็นต้น ซึ่งท่านนิยมไว้ด้วยจิตด้วยก่อน และดวงหลัง อย่างนี้ว่า จิตดวงนี้มีต่อจากจิตดวงนี้ โดยย่อ ตามสมควรแก่ความเป็น ไปอีก ฯ การสงเคราะห์วัตถุ ทวาร และอารมณ์ แม้ท่านอาจารย์ได้กล่าว ไว้แล้วในหนหลัง แต่ท่านยังยกขึ้นตั้งไว้อีก ก็เพื่อแสดงปวัติสงเคราะห์ ให้บริบูรณ์ ฯ ๆ * พระอริยเมธี ปัจจุบันเป็น พระธรรมบัณฑิต (มานิต ถาวโร ป.ธ. ๙) วัดสัมพันธวงศ์ พระนคร แปล.
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More