กามาวจรในอภิธัมมัตถสังคหบาลี อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 176
หน้าที่ 176 / 442

สรุปเนื้อหา

ข้อความนี้กล่าวถึงความสำคัญของกามาวจรในบริบทของอภิธัมมัตถสังคหบาลีและความสัมพันธ์ระหว่างจิตอันเกิดจากกรรม รวมถึงการที่กามตัณหามีผลต่อการกำเนิดของจิตในรูปแบบต่าง ๆ เช่น รูปาวจรและอรูปาวจร ไม่ว่าจะเป็นการยกตัวอย่างเช่น เด็กที่พยายามออกไปจากบ้าน โดยมีเอกลักษณ์ของกามาวจรที่จะนำพาเย็บจักรกับอารมณ์ที่สอดคล้องกัน นอกจากนี้ยังเน้นความสำคัญของความปรารถนาต่อกามาวจรโดยเฉพาะในสัตว์ที่ไม่ได้มีในชั้นพรหมตามกฎธรรมชาติที่มีการจำแนกประเภทของจิตและกรรม

หัวข้อประเด็น

-กามาวจร
-อภิธัมมัตถสังคหบาลี
-ความสัมพันธ์ระหว่างจิตและกรรม
-ตทาลัมพนจิต
-การปรารถนาในธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 176 [ตทาลัมพนะมีในกามาวจร ในคำว่า กามาวจร ฯ เปฯ อิจฺฉนฺติ นี้ ท่านกล่าวความไว้ เฉพาะดังนี้ว่า ท่านอาจารย์ทั้งหลาย ย่อมปรารถนาตทารมณ์นั่นแล ในที่สุดชวนจิตฝ่ายกามาวจรเท่านั้น เพราะเป็นจิตที่เกิดแต่กรรม มี กามตัณหาเป็นต้นเหตุฯ จริงอยู่ ตทารมณ์นั้น อันกรรมที่กามตัณหา เป็นเหตุ ให้เกิดแล้ว ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ในลำดับชวนจิตฝ่ายรูปาวจร อรูปาวจร และโลกุตตระ อันไม่มีสภาพเช่นนั้น ๆ เหตุไรหรือ? เพราะชวนจิตฝ่ายรูปาวจรเป็นต้นนั้น ไม่ใช่ตัวให้กำเนิด และเพราะ ไม่มีภาวะเสมอกันกับกรรมที่ให้กำเนิด ๆ เปรียบเหมือนเด็กอ่อน ผู้ประสงค์จะออกไปนอกเรือน ย่อมจะเกาะนิ้วมือบิดา หรือบุคคลเช่นกับ บิดาออกไป ไม่เกาะคนอื่น มีราชบุรุษเป็นต้น ฉันใด ตทาลัมพนจิต ที่เป็นไปในอารมณ์อื่นจากอารมณ์ภวังค์ ก็ฉันนั้น ย่อมจะติดจาม กามาวจรกุศล และอกุศล ตัวให้กำเนิด หรือชวนจิตที่เป็นกิริยาฝ่าย กามาวจร อันเช่นกับชนกกรรมนั้นไป แต่จะไม่ติดตามชวนจิตฝ่าย มหัคคตะและโลกุตตระ อันปราศจากความเหมือนกับชนกกรรมนั้น ๆ อนึ่ง ท่านย่อมปรารถนาตทารมณ์สำหรับกามาวจรสัตว์เท่านั้น ไม่ ๆๆ ปรารถนาแก่พวกพรหม เพราะพวกพรหมไม่มีพืชคือปฏิสนธิจิตฝ่าย กามาวจร อันเป็นอุปนิสัยแห่งตทารมณ์ ๆ หนึ่ง ท่านย่อมปรารถนา เฉพาะในกามาวจรธรรมที่เป็นอารมณ์ ไม่ปรารถนาในธรรมนอกนี้ เพราะไม่คุ้นกัน ฯ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More