อวิชชาและการเกิดของสังขาร อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 362
หน้าที่ 362 / 442

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้จัดการเกี่ยวกับอภิธรรมที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างอวิชชา สังขาร วิญญาณ และนามรูปในมุมมองทางพุทธศาสนา การอธิบายนี้ทำให้เห็นว่าสังขารเกิดจากอวิชชา และวิญญาณก็เกิดจากสังขาร โดยยกตัวอย่างการเกิดของสฬายตนะและผัสสะที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์เกี่ยวกับความยินดีในธรรมที่ถือเป็นเหตุให้เกิดตัณหา นอกจากนี้ทุกๆ ขบวนการที่กล่าวถึงในเนื้อหาล้วนมีความสัมพันธ์เป็นทอดๆ ภายในระบบที่ซับซ้อน ซึ่งทั้งหมดนี้นำไปสู่การเข้าใจถึงกระบวนการที่นำไปสู่การเกิดขึ้นของการยึดมั่นในธรรมต่างๆ และความเข้าถึงประสบการณ์ที่หลากหลายของสัตว์ในโลกนี้ บทวิเคราะห์นี้ช่วยเปิดมุมมองที่ลึกซึ้งกว่าเดิมในด้านอภิธรรมของพระพุทธศาสนา

หัวข้อประเด็น

-ความสัมพันธ์ระหว่างอวิชชาและสังขาร
-การเกิดของวิญญาณจากสังขาร
-การวิเคราะห์สฬายตนะและผัสสะ
-ผลของเวทนาต่อการเกิดตัณหา
-ความยึดมั่นในธรรมต่างๆ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 362 อวิชชาเป็นต้นนี้ สังขารทั้งหลาย ย่อมเกิดจากปัจจัยคืออวิชชา เพราะสังขารทั้งหลายเป็นไปในสันดานที่มีอวิชชานอนเนื่องอยู่แล้วเท่า นั้น โดยเป็นวิบากธรรมฯ ส่วนวิญญาณเป็นธรรมชาติที่สังขาร ให้เกิด ย่อมตั้งอยู่ในภพอื่น จริงอยู่ เมื่อปัจจัยให้เกิดไม่มี วิญญาณนั้นก็เกิดไม่ได้ เพราะฉะ วิญญาณจึงเกิดจากปัจจัยคือสัง ขาร ฯ ก็นามรูป อันวิญญาณซึ่งเป็นผู้ถึงก่อนและเป็นที่ตั้ง ค้ำชูแล้ว ย่อมตั้งอยู่ในปฏิสนธิกาลและปวัติกาล เพราะฉะนั้น นามรูปจึงชื่อว่า เกิดจากปัจจัยคือวิญญาณ ฯ ก็สฬายตนะจำเพาะมีนามรูปเป็นที่เข้าอิง อาศัย ย่อมเป็นไปโดยความเป็นทวารแห่งผัสสะ 5 อย่าง ตามสมควร หาใช่โดยประการอื่นไม่ เพราะฉะนั้น สฬายตนะจึงชื่อว่าย่อมเกิดจาก ปัจจัยคือนามรูปฯ และผัสสะ เมื่อมีสฬายตนนะเกิดเท่านั้น จึงถูกต้อง อารมณ์ได้ แต่เมื่อไม่มีทวาร ผัสสะนั้นก็เกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้น ผัสสะ จึงชื่อว่าเกิดจากปัจจัยคือสฬายตนะ ฯ ก็สัตว์ผู้ถูกต้องอารมณ์ที่น่าปรารถ นา และเป็นกลาง ๆ นั่นแล จึงเสวยเวทนา หาใช่โดยประการอื่นไม่ เพราะฉะนั้น เวทนาจึงชื่อว่าเกิดจากปัจจัยคือผัสสะ ฯ ก็ตัณหาที่มีเวทนา เป็นเหตุ ย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์ผู้ตามเห็นความน่ายินดีในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา เพราะฉะนั้น ตัณหาจึงชื่อว่าเกิดจากปัจจัยคือ เวทนาฯ ก็จำพวกสัตว์ผู้กระหายเพราะยางเหนียวคือตัณหาเท่านั้น ย่อม เป็นไปเพื่อความยึดถือ คือเพื่อความยึดมั่นในธรรมทั้งหลาย อันเป็น ที่ตั้งแห่งอุปาทาน ฯ ก็สัตว์ทั้งหลายยินดีอารมณ์มีรูปเป็นต้นด้วยตัณหา ๑. โยชนาเป็น ทฬหกาหาย ฯ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More