อภิธัมมัตถสังคหบาลี - หน้าที่ 198 อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 198
หน้าที่ 198 / 442

สรุปเนื้อหา

ในหน้าที่ 198 ของอภิธัมมัตถสังคหบาลี ได้กล่าวถึงอารมณ์ที่เกิดขึ้นในจุติจิตที่ถูกอวิชชาห้อมล้อมและมีตัณหานุสัยเป็นรากฐาน อธิบายเกี่ยวกับการเกิดและการตายโดยอ้างอิงถึงอารมณ์ที่เป็นปัจจุบันและอดีตที่สัมพันธ์กับกรรมและการปฏิสนธิของสัตว์ต่างๆ มีการจำแนกประเภทของสัตว์ที่มีปฏิสนธิเป็นรูปและอรูป รวมถึงการชี้ให้เห็นความหมายของกรรมและการมีชีวิตของสัตว์เหล่านั้น การเกิดขึ้นของจิตทั้ง 5 ในปฏิสนธิจิต และอุปสรรคที่เกี่ยวข้องจึงเป็นสิ่งที่บัณฑิตต้องเข้าใจ เพื่อที่จะได้รู้เกี่ยวกับธรรมชาติของการเกิด การตาย และความการอยู่ในภพอื่นๆ เป็นต้น

หัวข้อประเด็น

-จิตและกรรม
-การเกิดและการตาย
-ความรู้ในอภิธัมมัตถสังคหบาลี
-ประเภทของสัตว์ในปฏิสนธิ
-การอธิบายของพระพุทธเจ้า

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 198 อารมณ์ที่ตนถือเอาแล้วอย่างนั้น ในลำดับจุติจิตนั้นนั่นแล อันสังขาร ซึ่งถูกอวิชชานิสัยห้อมล้อมแล้ว มีตัณหานุสัยเป็นมูลรากให้เกิดอยู่ตาม สมควร อันสัมปยุตธรรมทั้งหลายประคับประคองไว้เป็นธรรมชาติถึง ก่อน เพราะเป็นที่ตั้งแห่งธรรมที่เกิดร่วมกัน พอเกิดขึ้นเท่านั้น ก็ตั้ง อยู่ในภพอื่น ๆ ก็เพราะชวนจิตทั้ง ๕ นั้นแล ที่เป็นไปอ่อน ในปฏิ สนธิจิตนี้ บัณฑิตพึงแล้วได้ในวิถีที่ใกล้จะตาย เพราะฉะนั้น ถ้าเมื่อ อารมณ์ที่เป็นปัจจุบันนั่นแล มาสู่คลองแล้วยังปรากฏอยู่เท่านั้น จึงมีการ ตาย ฯ ทั้งปฏิสนธิและภวังค์มีอารมณ์เป็นปัจจุบัน ท่านย่อมได้ในเวลา นั้น เพราะทำอธิบายไว้ดังนี้ กามาวจรปฏิสนธิ จึงได้มีอารมณ์เป็นปัจจุ บันและอดีต ซึ่งเป็นกรรมนิมิตและคตินิมิตที่ทวาร ๖ ถือเอาฯ ส่วน กรรมเป็นอดีตอย่างเดียว ฯ และกรรมนั้นอันมโนทวารถือเอาแล้วๆ ก็ อารมณ์เหล่านั้นแม้ทั้งหมด บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นอารมณ์ที่เป็นกามา- วจรธรรมทั้งนั้น ๆ ส่วนรูปาวจรปฏิสนธิ มีกรรมนิมิตที่เป็นบัญญัต เท่านั้นเป็นอารมณ์ ฯ อนึ่ง อรูปปฏิสนธิ มีกรรมนิมิตที่เป็นมหัคคตะ และบัญญัติเท่านั้นเป็นอารมณ์ตามสมควร ฯ แต่สำหรับพวกอสัญญีสัตว์ ชีวิตนวกะนั่นแลตั้งอยู่โดยความเป็นปฏิสนธิ เพราะฉะนั้น อสัญญีสัตว์ เหล่านั้น ชื่อว่ามีรูปเป็นปฏิสนธิ ฯ พวกอรูปสัตว์ มีอรูปเป็นปฏิสนธิ ฯ ที่เหลือนอกนั้น มีทั้งรูปและอรูปเป็นปฏิสนธิ ฯ [สังคหคาถา] ก็อรูปปฏิสนธิทั้งหลาย เว้นอรูปชั้นต่ำ ย่อมมีต่อจากอรูปจุติ ส่วนพวกติเหตุก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More