ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 180
สกทาคามีหาเข้าได้ไม่ จึงกล่าวคำว่า อนาคามิผล อรหัตตผล วา ดังนี้ 1
ก็ในคำนี้ บัณฑิตจึงเห็นวิภัติวิปัลลาสว่า อนาคามิผล อรหัตตผล
(เมื่ออนาคามิผล อรหัตผลดับไปแล้ว) ฯ เพราเหตุนั้น ท่านอาจารย์
จึงกล่าวว่า นิรุทเธ (ดับไปแล้ว) ดังนี้ ฯ บทว่า ยถาร คือตาม
สมควรแก่บุคคลนั้นๆฯ สองบทว่า สพฺพต์ถาปิ สมาปตฺติวีถีย์ ความ
ว่า ในวิถีแห่งฌานสมบัติ และในวิถีแห่งผลสมาบัติแม้ทั้งสิ้นฯ ชวน
จิตที่เป็นกามาวจร บัณฑิตกล่าวไว้ ๓ ครั้ง โดยกำหนดอย่างสูง ฯ
แต่มรรคชวนะและอภิญญาชวนะ กล่าวไว้ครั้งเดียว คือคราวเดียว
เท่านั้น มหัคคตชวนะและโลกุตตรชวนะที่เหลือ เว้นอภิญญาชวนะ
และมรรคชวนะเสีย ย่อมได้แม้เป็นอันมาก เพราะเป็นไปในวิถีสมาบัติ
แม้ตลอดวันและคืน ฯ ด้วย อปี ศัพท์ ท่านอาจารย์ประมวลมาว่า
โลกิยฌานเป็นไปครั้งเดียวในปฐมอัปปนา และผลข้างท้ายทั้ง ๒ เป็นไป
ครั้งเดียว ในลำดับแห่งนิโรธ ผลจิตเป็นไปแม้ ๒-๓ ครั้ง ในลำดับ
แห่งมรรค ดังนี้ ฯ
[แจกวิถีจิตตามบุคคล]
บัดนี้ เพื่อที่จะแสดงการกำหนดวิถีจิตที่จะเกิดแก่บุคคล ๑๒
จำพวก คือแก่ปุถุชน ๔ จำพวก ด้วยอำนาจทุเหตุกบุคคล อเหตุกบุคคล
อปายิกอเหตุกบุคคล และตึกเหตุกบุคคล (ผู้มีเหตุ ๒ ไม่มีเหตุ ไม่มี
เหตุที่เกิดในอบาย และมีเหตุ ๓) (และ) พระอริยบุคคล ๘ จำพวก
ด้วยอำนาจพระผู้ตั้งอยู่ในมรรค (๔) และพระผู้ตั้งอยู่ในผล (๔) (และ)
เพื่อแสดงจิตที่ควรเว้นแก่บุคคลเหล่านั้นก่อนทีเดียว ท่านอาจารย์จึง