อรูปาวจรจิตและอากาสานัญจาตนะ อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 56
หน้าที่ 56 / 442

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาตรงนี้กล่าวถึงการจำแนกอรูปาวจรจิตเป็นสี่ประการโดยอิงจากอารมณ์ มีการอธิบายแนวคิดเกี่ยวกับอากาสานญฺจาตน์ ที่ถือว่ามีความไม่สุดทาง เหนือกว่าสิ่งที่มองเห็นและเป็นที่เกิดแห่งฌาน ระบุถึงความสำคัญของอากาสานัญจาตนะในแง่ของการเรียนรู้และธรรมประจำใจ การวิเคราะห์คำและความหมายที่เกี่ยวข้องกับฌานและอากาสาในบริบททางจิตวิญญาณเช่นกัน สื่อความหมายในแง่ของการพัฒนาจิตและความเข้าใจในแนวทางอภิธรรม เพื่อความเข้าใจที่ลึกซึ้งขึ้นในธรรมชาติของจิตและอารมณ์ทางจิตวิญญาณ ตลอดจนการคือพระธรรมคำสอนที่สำคัญที่ซ่อนอยู่ในอภัยธรรม

หัวข้อประเด็น

- แนะนำอรูปาวจรจิต
- การวิเคราะห์อากาสานญฺจาตน์
- ความสำคัญของฌานแห่งอากาสา
- ความเชื่อมโยงระหว่างจิตและอารมณ์
- การอธิบายอภิธรรมในทางจิตวิญญาณ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ไม่แปลกกัน ฯ ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 56 พรรณนารูปาวจรจิต จบ [อรูปาวจรวรรณนา] บัดนี้ ท่านอาจารย์เมื่อจะแสดงจำแนกอรูปาวจรจิตเป็น ๔ อย่าง โดยความต่างแห่งอารมณ์ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อากาสานญฺจายตน์ ดังนี้ ฯ บัณฑิตพึงทราบวิเคราะห์เป็นต้น ในคำว่า อากาสานญฺจาตน์ เป็นต้นนั้น ๆ ที่ชื่อว่าอนันตะ เพราะอรรถว่า อากาศนั้นไม่มี ที่สุด โดยเว้นจากที่สุดมีความเกิดเป็นต้นฯ อากาศนั้นไม่มีที่สุด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อากาสานันตะ ได้แก่อากาศเพิกกสิณ ฯ ก็ เมื่อควรกล่าวว่า อนันตากาสะ ท่านอาจารย์กล่าวเสียว่า อากาสานันตะ "ด้วยสามารถการเรียงบทวิเสสนะไว้ข้างหลัง เหมือนในประโยคว่า อคุยาหิโต เป็นต้นฯ อากาสานันตะนั่นแล ชื่อว่า อากาสานัญจะ ด้วยสามารถภาวปัจจัยลงในอรรถของตน (คือความเท่าตัวเดิม) ฯ อากาสานัญจะนั่นแล เป็นที่เกิดแห่งฌานนั้น พร้อมด้วย สัมปยุตธรรม โดยอรรถว่าเป็นที่ตั้งอยู่ ดุจที่อยู่แห่งเทวดาของพวก เทวดา เพราะเหตุนั้น ฌานนั้น จึงชื่อว่า อากาสานัญจาตนะ ฯ ในอากาสนัญจาตนะ แม้อรูปฌานที่ ๑ ยังไม่ถึงอัปปนา ท่าน อาจารย์ก็กล่าวว่า อากาสานัญจาตนะ ในอธิการแห่งอรูปฌานนี้ เหมือนฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ปฐวีกสิณฉะนั้น ๆ อีกอย่างหนึ่ง ฌานที่ชื่อว่าอากาสานัญจาตนะ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More