ข้อความต้นฉบับในหน้า
1
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 376
ด้วยอำนาจแห่งการไม่เข้าถึงความดับหมด ชื่ออวิคตปัจจัย ฯ แม้เมื่อ
ไม่มีความแปลกกันแห่งธรรมของปัจจัยทั้ง ๒ นั้น บัณฑิตก็พึงทราบ
ความเป็นปัจจัยที่แปลกกัน อย่างนี้คือ ความเป็นธรรมที่อุปการะด้วย
อาการมาตรว่าความคงสภาพอยู่ ชื่อว่าความเป็นอัตถิปัจจัย ความเป็น
ธรรมที่อุปการะ ด้วยอำนาจแห่งการไม่เข้าถึงความดับหมด ชื่อว่าความ
เป็นอวิคตปัจจัย ฯ
แท้จริง บัณฑิตเชื่อในพระผู้มีพระภาคว่า พระผู้มีพระภาคทรง
ทราบสมรรถภาพพิเศษแห่งธรรมทั้งหลาย โดยอาการทุกอย่าง จึงทรง
แสดงปัจจัย ๒๔ ไว้ดังนี้ ควรทำสุตมยญาณให้เกิดขึ้นว่า ธรรมเหล่านี้
มีความพิเศษอย่างนี้ แล้วทำความพากเพียรเพื่อตรัสรู้ความพิเศษแห่ง
ปัจจัยนั้น ด้วยจินตามยญาณและภาวนายญาณ ฯ บัณฑิตพึงเห็นสันนิษ
ฐานว่า แม้เมื่อความสามารถแห่งธรรมไม่มีแปลกกัน ปัจจัยแม้ที่ตรัสไว้
แล้วในหนหลัง พระองค์ก็ตรัสซ้ำอีกโดยประการอื่น ด้วยสามารถแห่ง
บุคคลที่จะพึงแนะนำได้ โดยประการนั้น ๆ เหมือนอย่างแม้ตรัสไว้
ทุกะไว้แล้วก็ตรัสเหตุวิปปยุตตกะ (ทุกะที่กำหนดด้วยเหตุวิปยุต) ไว้
อีกฉะนั้น ๆ นาม ได้แก่นามกล่าวคือขันธ์ ๕ ย่อมเป็นปัจจัยแก่นาม
เช่นนั้นนั่นแล โดยส่วน ๖ คือโดยอาการ 5 อย่าง ๑ ฯ นามนั้น
นั่นเอง ย่อมเป็นปัจจัยแก่นามธรรมและรูปธรรมที่ปัจจัยให้เกิดขึ้นแล้ว
(อันเป็นไปร่วมกัน) โดยส่วน ๕ อย่าง ๑ ฯ นามนั้นนั่นเอง ย่อมเป็น
ปัจจัยแก่รูปอันต่างด้วยภูตรูปและอุปาทายรูปอีกโดยส่วนเดียว ๑ ฯ ส่วน
รูปเป็นปัจจัยแก่นามเพียงอย่างเดียว ๑ ฯ บัญญัติและนามรูป ย่อมเป็น