ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 417
เช่นกับอุคคหนิมิตฯ จริงอยู่ อารมณ์นี้ บัณฑิตเรียกว่า ปฏิภาคนิมิต
เพราะเช่นกับอุคคหนิมิตนั้นนั่นเอง ฯ แต่ปฏิภาคนิมิตนั้น เป็นนิมิต
บริสุทธิ์ยิ่งกว่าอุคหนิมิตฯ บทว่า วัตถุธมฺมวิมุจจิต ความว่า
อาลัมพนะ (อารมณ์) พ้นจากปรมัตถธรรม หรือพ้นไปจากวัตถุธรรม
หรือพ้นไปจากกสิณที่เป็นไปดวงกสิณ ชื่อว่าสำเร็จด้วยภาวนา เพราะ
เกิดจากภาวนาฯ บทว่า สมปุปิติ คือแนบแน่นสนิทดี ๆ สองบทว่า
ตโต ปฏฐาย คือ ตั้งแต่ปฏิภาคนิมิคเกิด ฯ
[อธิบายความต่างกันแห่งวสีทั้ง ๕]
ความสามารถคำนึงถึงองค์ฌานต่อเนื่องกันไม่เลยไปจากชวนะ
๔-๕ ชวนะและภวังค์เล็กน้อย (ภวังค์ทั้ง ๒) ในลำดับแห่งอาวัช-
นะที่เกิดขึ้นในอารมณ์อย่างหนึ่ง ๆ (มีวิตกเป็นต้น) ในบรรดาองค์
ฌาน ๕ ชื่อว่าอาวัชชนวสี (ความคล่องแคล่วในการนึก)ฯ ความ
ไม่เลยภวังค์เล็กน้อย (ภวังค์ทั้ง ๒) ไป ในลำดับแห่งความเป็นถูกต้อง
การจะเข้า สามารถเข้าได้ในลำดับอาวัชชนะเกิดขึ้น ชื่อว่าสมาปัชชนวสี
(ความคล่องแคล่วในการเข้า) ฯ ความสามารถตัดกระแสภวังค์แล้ว
พักฌานไว้ตลอดเวลาตามที่กำหนด ดุจเขื่อนตัดกระแสแม่น้ำที่มีกระแส
ๆ
เชี่ยวฉะนั้น คือความประกอบในการรักษาไว้จากการตกไปเป็นภวังค์
ชื่อว่าอธิฏฐานวสี (ความคล่องแคล่วในการรักษาไว้จากการตกไปเป็นภวังค์
ออกจากฌานไม่ล่วงเลยกาลตามที่กำหนดไว้ ชื่อว่าวุฏฐานวสี (ความ
คล่องแคล่วในการออก) ฯ อีกอย่างหนึ่ง ความสามารถดำรงไว้ไม่ให้
เลยจากกาลตามที่กำหนดไว้ไป ชื่อว่าอธิฏฐานวสี (ความคล่องแคล่ว
ન