ปาฏิหาริย์ในอภิธัมมัตถสังคหบาลี อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 179
หน้าที่ 179 / 442

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาในหน้า 179 ของอภิธัมมัตถสังคหบาลีและอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา พูดถึงการเจริญสติและการเข้าใจการทำงานของปัจจเวกขณจิตทั้ง ๔ และ ๕ ดวงที่เกี่ยวข้องกับพระสาวก ปรัชญาของจิตในบทนี้ยังสำรวจถึงอุปนิสัยและคุณธรรมที่ช่วยให้สามารถเข้าถึงนิโรธสมาบัติได้ เหมาะสำหรับผู้ที่ศึกษาและสนใจในพระพุทธศาสนาและอภิธรรม

หัวข้อประเด็น

-ปาฏิหาริย์ในอภิธัมมัตถสังคหบาลี
-การทำงานของจิต
-พระสาวกในอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา
-อภิญญาและจิต
-นิโรธสมาบัติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 179 ปาฏิหาริย์ หรือแก่พระสาวกเหล่าอื่นในเวลาเห็นปานนี้ ฯ ส่วนคำว่า ๔ หรือ ๕ ดวงนี้ ท่านอาจารย์ธรรมปาลเถระกล่าวว่า บัณฑิตควร ๆ ถือเอาด้วยอำนาจบุคคลผู้มีอินทรีย์แก่กล้าและมีอินทรีย์อ่อน ๆ เพราะ เหตุนั้น คำว่าปัจจเวกขณจิต ๔ ดวง ย่อมเป็นไปแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า สำหรับสาวกอื่น มีพระสารีบุตรเป็นต้น มีปัจจเวกขณจิตทั้ง ๕ ดวง ดังนี้ ดูเหมือนจะถูกต้อง (ดูเหมือนจะใช้ได้) ฯ บทว่า อาทิกมุมิกสฺส คือผู้กระทำกรรมคือความเพียงตั้งแต่ต้น ๆ อัปปนาที่เกิดแต่แรก ชื่อว่าปฐมอัปปนาฯ ท่านอาจารย์ทำไว้ในใจว่า ศัพท์ที่ท่านประกอบไว้ว่า ปฐมกรุ๊ปนาย ดังนี้ จึงมีแม้แก่อภิญญา- ชวนจิต จึงได้กล่าวว่า สพฺพทาปิ ฯ ความว่า อภิญญาชวนจิตทั้ง ๕ ย่อมแล่นไปคราวเดียวเท่านั้น ในเวลาอัญญาชวนจิตเกิดคราวแรก และในเวลามีความชำนาญที่บุคคลต้องเสพแล้ว ฯ มรรคนั้นแล ชื่อว่า มรรคุปบาท เพราะบังเกิดขึ้น ๆ บทว่า ยถารห์ ได้แก่ ตามสมควร แก่มรรคที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นที่ ๕ หรือที่ ๔ ฯ က จริงอยู่ เพราะวิถีมีอาวัชชนะเดียวกัน มีเพียง ๓ ชวนะเป็นอย่าง มาก ผลจิต ๓ ย่อมมีต่อจากมรรคที่เกิดขึ้นเป็นที่ ๔ หรือผลจิต ๒ มี ต่อจากมรรคที่เกิดขึ้นเป็นที่ ๕ ฯ บทว่า นิโรธสมาปฤติกาเล คือ ในกาลเป็นส่วนเบื้องต้นของนิโรธ ฯ บทว่า จตุตถารูปวน์ ความว่า ๆ บรรดาชวนจิตที่เป็นกุศลและกิริยา เนวสัญญานาสัญญายตนชวนจิตดวง ใดดวงหนึ่งย่อมแล่นไป ๆ ท่านอาจารย์ทำในใจว่า พระอนาคามีและ พระขีณาสพเท่านั้น ย่อมเข้านิโรธสมาบัติได้ พระโสดาบันและพระ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More