ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 121
อุเบกขามีการเสวยอารมณ์ที่เป็นกลางเป็นลักษณะ ฯ มหัคคตจิตและ
โลกุตตรจิต ชื่อว่า ๔๔ อย่าง เพราะมีอย่างละ ๑๑ โดยต่างแห่งโลกิยะ
และโลกุตตระ ฯ บทว่า เสสานิ คือที่เหลือจากจิตที่สหรคตด้วย สุข
ทุกข์ โสมนัส และโทมนัส จากอกุศล 5 จากอเหตุกจิต ๑๔ จาก
กามาวจร โสภณ ๑๒ เป็นไปในปัญจมฌาน ๒๓ ทั้งหมด จึงรวมจิตที่
สหรคตด้วยอุเบกขา ๕๕ ด้วยประการฉะนี้ ฯ
การสงเคราะห์เหตุมีโลภะเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งการจำแนก
และด้วยอำนาจแห่งจิตและเจตสิก ที่สัมปยุตด้วยเหตุ มีโลภะเป็นต้นนั้น
ชื่อว่าเหตุสังคหะ ฯ สัมพันธ์ความว่า ชื่อว่าเหตุมี 5 อย่าง ฯ ก็ความ
เป็นเหตุ คือความที่เหตุเหล่านั้นเป็นรากเหง้า กล่าวคือการยังความที่
แห่งสัมปยุตธรรมทั้งหลาย เป็นสภาพตั้งอยู่ด้วยดีแล้วให้สำเร็จฯ
จริงอยู่ ธรรมทั้งหลายที่ได้เหตุเป็นปัจจัยแล้ว ย่อมเป็นสภาพมั่นคง
เหมือนต้นไม้ที่มีรากงอกงามแล้ว มิใช่ว่าเหมือนไม่มีเหตุ ดุจสาหร่าย
ในพื้นน้ำฯ ก็เพราะทรงอธิบายอย่างนี้ จึงตรัสเหตุ ๖ ประการเหล่านั้น
ว่าเป็นรากเหง้าโดยเป็นเหมือนราไม้ฯ ฝ่ายอาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าว
ว่า การยังธรรมทั้งหลายมีกุศลเป็นต้นให้สำเร็จ เป็นกุศลธรรมเป็นต้น
ชื่อว่าความเป็นเหตุฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ ต้องค้นหาเหตุอย่างอื่นที่ให้ตัว
ของเหตุสำเร็จ ชื่อว่ากุศลธรรมเป็นต้นฯ ถ้าอาจารย์พวกอื่นที่ให้ตัว
ความที่เหตุเหล่านั้นมีชื่อว่ากุศลเป็นต้น เนื่องด้วยสัมปยุตเหตุที่เหลือ
แม้เมื่อมีคำกล่าวเช่นนั้น ความที่เหตุซึ่งสัมปยุตด้วยโมมูหจิต ชื่อว่า
อกุศลก็ไม่ต้องเนื่อง (ด้วยเหตุที่ให้สำเร็จชื่อ) ฯ ถ้าเหตุอันสัมปยุตด้วย