ความเป็นไปแห่งวิสัยในอภิธัมมัตถสังคหบาลี อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 151
หน้าที่ 151 / 442

สรุปเนื้อหา

บทเนื้อหาในอภิธัมมัตถสังคหบาลีนี้เกี่ยวกับความเป็นไปแห่งวิสัยปวัติ ซึ่งกล่าวถึงการทำงานของจิตในทวารต่างๆ ในการรับรู้และการติดต่อของอารมณ์ที่มีการสืบต่อกันในแต่ละขณะจิต นอกจากนี้ยังมีการแสดงถึงความแตกต่างในอายุของอารมณ์ ที่ล่วงไปตามช่วงเวลาของขณะจิต เช่น อารมณ์ที่มีอายุน้อยกว่าจะผ่านไปได้เร็ว และอารมณ์ที่มีอายุยาวจะมีการล่วงไปช้ากว่า ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับธรรมชาติของจิตและอารมณ์ในทางพระพุทธศาสนาโดยตรง dmc.tv

หัวข้อประเด็น

- วิสัยปวัติ
- อารมณ์และจิต
- ทวารและการรับรู้
- อายุของอารมณ์
- การศึกษาอภิธัมมัตถสังคหบาลี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 151 ความเป็นไปแห่งวิสัย คือแห่งจิต ในทวาร และในอารมณ์ ชื่อว่าวิสัยปวัติฯ บทว่า ตตฺถ คือ ในฉักกะ 5 หมวดนั้น ๆ ท่าน อาจารย์กล่าวคำมีอาทิว่า จกฺขุทวารวิถี ดังนี้ เพื่อแสดงว่า ควร กระทำการประกอบชื่อของวิถี ด้วยอำนาจทวาร โดยนัยเป็นต้นว่า วิถี คือความสืบต่อแห่งจิตที่เป็นไปในจักขุทวาร ชื่อว่าจักขุทวารวิถี หรือ ด้วยอำนาจของวิญญาณ โดยนัยเป็นต้นว่า วิถีที่ติดต่อด้วยจักขุวิญญาณ ชื่อว่าจักขุวิญญาณวิถี เพราะมีการเที่ยวไปร่วมกันกับจักขุวิญญาณนั้น โดยความมีอารมณ์เดียวกัน และเป็นไปในทวารเดียวกัน ฯ [ความต่างแห่งอารมณ์] ๆ พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อติมหนฺติ เป็นต้นฯ อารมณ์มีอายุ ชั่วขณะจิต ๑๖ ผ่านมาสู่คลอง เป็นของล่วงไปได้ ๑ ขณะจิต ชื่อว่า อติมหันตะ ๆ อารมณ์มีอายุชั่วขณะจิต ๑๕ หรือ ๑๔ ล่วงไปได้ ๒-๓ ขณะจิต ชื่อว่ามหันตะ ๆ อารมณ์ที่ล่วงไปตั้งแต่ ๔ ขณะจิต จน กระทั่งถึง 6 ขณะจิต มีอายุตั้งแต่ ๑๓ ขณะจิต จนกระทั่งเหลือ 4 ขณะจิต ชื่อว่าปริตตะ ๆ อารมณ์ที่ล่วงไปตั้งแต่ ๑๐ ขณะจิต จน กระทั่งถึง ๑๕ ขณะจิต มีอายุตั้งแต่ ๒ ขณะจิต จนกระทั่งเหลือ ๒ ขณะจิต ชื่อว่าอติปริตตะ ฯ ก็เพราะกระทำอธิบายอย่างนี้ ท่านอาจารย์ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เอกจิตตกขณาตีตานิ ดังนี้ ฯ อารมณ์ที่ปรากฏชัด ชื่อว่าวิภูตะ ที่ไม่ปรากฏชัด ชื่อว่าอวิภูตะ ન ન ન
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More