อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 423
หน้าที่ 423 / 442

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้อธิบายเกี่ยวกับการเข้าถึงความรู้เพื่อการสืบต่อสันตติชาติภพ รวมถึงการใช้ตาทิพย์ในญาณต่าง ๆ เช่น จุตูปปาตญาณ และการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ที่มีความเกี่ยวข้องกับอนิจจลักษณะและการเห็นสิ่งต่าง ๆ ในแง่ของการไม่เที่ยง โดยสรุปแล้ว วิปัสสนากรรมฐานมีความสำคัญในการบำเพ็ญปัญญาเพื่อให้เข้าใจความจริง.

หัวข้อประเด็น

-ทิพยจักษุ
-จุตูปปาตญาณ
-วิปัสสนากรรมฐาน
-อารมณ์ในญาณ
-อนาคตังสญาณ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 423 สามารถที่อยู่โดยเป็นอารมณ์ ในการสืบต่อสันตติชาติภพของตน ชื่อว่า ปุพเพนิวาสานุสสติ ๆ จักษุนั้นด้วย เป็นทิพย์ด้วย โดยนัยดังที่กล่าว แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าทิพยจักษุ ฯ ก็ทิพยจักษุนั้นแล บัณฑิต เรียกว่าจุตูปปาตญาณ ฯ แม้ยถากัมมูปคญาณ และอนาคตังสญาณ ก็ย่อม สำเร็จด้วยอำนาจทิพยจักษุนั่นเอง ฯ จริงอยู่ ยถากัมมูปคญาณและ อนาคตังสญาณเหล่านั้น ไม่มีบริกรรมแผนกหนึ่ง ๆ ในญาณทั้ง ๒ นั้น อนาคตังสญาณมีจิตและเจตสิกที่เป็นไปต่อจาก 5 วันในอนาคต เป็นอารมณ์ก่อน และมีธรรมชาติอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นไปจำเดิม แต่วันที่ ๒ (จาก ๒ วันนั้น) เป็นอารมณ์ ฯ แท้จริง อนาคตังส ญาณนั้น ท่านอาจารย์กล่าวว่า มีคติเหมือนคติแห่งสัพพัญญุตญาณใน อารมณ์ของตน ฯ ส่วนยถากัมมูปคญาณ บัณฑิตพึงเห็นว่า มีเจตนา กล่าวคือกุศลและอกุศล หรือขันธ์แม้ทั้ง ๔ เป็นอารมณ์ ฯ ความต่าง กันโดยอำนาจแห่งอารมณ์ ชื่อว่าโคจรเภท ฯ จบนัยที่กล่าวไว้ในสมถกรรมฐาน ฯ [อธิบายวิปัสสนากรรมฐาน] મૈં ธรรมชาติที่ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะอรรถว่า เห็นโดยอาการต่าง ๆ ด้วยอำนาจลักษณะมีอนิจจลักษณะเป็นต้น ได้แก่ภาวนาปัญญามีอนิจจา นุปัสสนา (การตามเห็นว่าไม่เที่ยง) เป็นต้น ฯ ที่ตั้งของกรรม (คือการบำเพ็ญ) ของวิปัสสนานั้น หรือวิปัสสนานั้นนั่นเอง เป็น กรรมฐาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าวิปัสสนากรรมฐาน ฯ ในวิปัสสนา ન
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More