ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 157
ดวงที่ ๒ เรียกว่า ภวังคุปัจเฉทะ เพราะเกิดขึ้นโดยอาการคือเข้าไป
ตัดภวังคสันตินั้นให้ขาดลงฯ แต่ในปกรณ์อภิธัมมัตถสังคหะนี้ ท่าน
พระอนุรุทธาจารย์กล่าวจิตทั้ง ๒ ดวงไว้โดยไม่แปลกกันว่า เมื่อภวังค์จิต
ไหว ๒ ครั้ง ดังนี้ ฯ
[อธิบายอุปมาภวังคจิตไหว]
มีคำถามสอดเข้ามาว่า ก็เมื่อรูปเป็นต้นกระทบที่ประสาทแล้ว
วิญญาณที่อาศัยในประสาทนั้นเท่านั้นควรไหน มิใช่หรือ ก็ภวังค์ที่
อาศัยหทัยวัตถุควรไหนอย่างไร ๆ แก้ว่า เพราะเนื่องเป็นอันเดียวกัน
ด้วยอำนาจสันตติ ฯ เหมือนอย่างแมลงวันจับอยู่ที่ก้อนกรวด ซึ่งวาง
อยู่บางพื้นกลองข้างหนึ่ง เมื่อเขาเอาไม่เป็นต้นตีพื้นกลองอีกข้างหนึ่ง
เมื่อก้อนกรวดไหวไปตามความไหวแห่งกลองหนังและเชือกเป็นต้นโดย
ลำดับ แมลงวันย่อมบินไปฉันใด เมื่อรูปเป็นต้นกระทบที่ประสาทแล้ว
ก็ฉันนั้นนั่นแล เมื่อมหาภูตรูปซึ่งเป็นที่อาศัยของประสาทนั้นไหวแล้ว
ครั้นหทัยวัตถุไหวไปตามความไหว แม้แห่งรูปนอกนั้นที่เนื่องด้วย
มหาภูตรูปนั้นโดยลำดับ ภวังค์ที่อาศัยหทัยวัตถุนั้นย่อมเป็นไปโดยอาการ
คือเคลื่อนไหวฯ สมดังคำที่ท่านธรรมปาลาจารย์กล่าวไว้ว่า
ન
เมื่อรูปารมณ์เป็นต้นกระทบวัตถุอื่น (คือ
ประสาท) แล้วภวังค์ที่อาศัยวัตถุอื่น (คือ
หทัยวัตถุ) ก็ไหวตาม เพราะเนื่องเป็น
อันเดียวกัน บัณฑิตกล่าวไว้โดยเปรียบ-
เทียบด้วยก้อนกรวดดังที่กล่าวแล้ว ฯ