การจำแนกเวทนาในอภิธัมมัตถสังคหบาลี อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 120
หน้าที่ 120 / 442

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการจำแนกเวทนาตามหลักอภิธัมมัตถสังคหบาลี โดยพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงความแตกต่างระหว่างสุขและทุกข์ ซึ่งแต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะด้วยการเสวนโผฏฐัพพารมณ์ที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา สำหรับอุเบกขานั้นถือเป็นเวทนาเพียงอย่างเดียวที่ไม่มีการแบ่งแยก โดยอธิบายถึงวิภาคของเวทนา 5 ประเภท ได้แก่ ทุกข์ทางกาย ทุกข์ทางใจ สุขทางกาย สุขทางใจ และอุเบกขาเวทนา ที่เป็นไปทางใจ.

หัวข้อประเด็น

- การจำแนกเวทนา
- สุขและทุกข์
- อุเบกขา
- อารมณ์ทางกายและจิต
- อภิธัมมัตถสังคหบาลี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 120 เพราะเหตุนั้น เพื่อจะแสดงวิภาคแม้ด้วยอำนาจแห่งอินทรีย์นั้น ใน เวทนาสังคหะนี้ท่านอาจารย์จึงกล่าวคำว่า สุข ทุกข์ เป็นต้น ๆ จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกสุขและทุกข์ เฉพาะอย่างหนึ่ง ๆ เป็น ๒ อย่าง เพราะความต่างแห่งความสำราญและความไม่สำราญที่เป็นไปทาง กาย และเป็นไปทางจิต จึงทรงแสดงเวทนาว่า สุขินทรีย์ โสมนัสสิน ทรีย์ ทุกขินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ ฯ แต่อุเบกขาทรงแสดงไว้อย่างเดียว เท่านั้นว่า อุเบกขินทรีย์ เพราะไม่มีความต่าง ๆ เหมือนอย่างว่า สุข และทุกข์ ย่อมทำการอนุเคราะห์และการเบียดเบียนแก่กายโดยอาการ อย่างอื่น แก่ใจโดยอาการอย่างอื่นฉันใด อุเบกขาย่อมกระทำฉันนั้น หามิได้ เพราะเหตุนั้น อุเบกขานั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงไว้ โดยอย่างเดียวเท่านั้น ๆ เพรา ราะเหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงได้ กล่าวได้ว่า เวทนาโดยความต่างแห่งอินทรีย์มี ๕ คือ ทุกข์ ทางกาย ๑ ทุกข์ทางใจ ๑ สุขทางกาย ๑ สุข ทางใจ ๑ อุเบกขาเวทนา เป็นไปทางใจอย่าง เดียวเท่านั้น ๑ ฯ บรรดาเวทนาทั้ง ๕ นั้น สุขมีการเสวนโผฏฐัพพารมณ์ที่น่า ปรารถนาเป็นลักษณะ ฯ ทุกข์มีการเสวยโผฏฐัพพารมณ์ที่ไม่น่า ปรารถนาเป็นลักษณะ ฯ โสมนัสมีการเสวยอารมณ์ที่น่าปรารถนา โดย สภาพบ้าง โดยปริกัปบ้าง เป็นลักษณะ ฯ โทมนัสมีการเสวยอารมณ์ ที่ไม่น่าปรารถนา โดยสภาพบ้าง โดยปริกัปบ้าง เช่นนั้นเป็นลักษณะ ฯ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More