ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 384
อารมณ์ที่ทำให้หนักฯ คำว่า สหชาตา ฯเปฯ นามรูปานํ ความว่า
สหชาตาธิบดี มีถึง ๔ อย่าง (คือ ฉันทาธิบดี วิริยาธิบดี จิตตาธิบดี
และวีมังสาธิบดี) ด้วยอำนาจแห่งฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวีมังสา
เป็นปัจจัยแก่นามรูปที่เกิดร่วมกันตามสมควร ในปวัติกาลเท่านั้น ด้วย
อำนาจแห่งสหชาตาธิบดี ๆ ท่านอาจารย์ทำในใจว่า ความที่รูปธรรม
อาศัยอรูปธรรมเป็นสหชาตปัจจัย พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ด้วยอำนาจ
แห่งวัตถุในปฏิสนธิกาลเท่านั้น จึงกล่าวคำว่า วัตถุวิปากา อญฺญมญญ์
ดังนี้ ฯ
[อธิบายจิตและเจตสิกเป็นอัญญมัญญปัจจัยแก่กันและกัน]
ก็เพราะภาวะแห่งจิตและเจตสิกเป็นอัญญมัญญปัจจัย ด้วยอำนาจ
แห่งการค้ำจุนแก่กันและกันนั่นเอง ไม่ใช่โดยสักว่าเกิดร่วมกัน ฉะนั้น
รูปจึงไม่เป็นอัญญมัญญปัจจัยแก่นาม ในปวัติกาล เพราะฉะนั้น ท่าน
อาจารย์จึงได้กล่าวไว้ว่า จิตตเจตสิกา อญฺญมญญ์ ดังนี้ ฯ อนึ่ง
อุปาทายรูป ก็ไม่เป็นอัญญมัญญปัจจัยแก่นาม ในปวัติกาล เพราะฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า มหาภูตา อญฺญมญฺญ์ ดังนี้ ฯ มีคำถามสอดเข้ามาว่า
ก็ท่านอาจารย์ได้กล่าวไว้ว่า อาหารที่ไม่มีรูป เป็นอาหารปัจจัยแก่นามรูปที่
เกิดร่วมกันมิใช่หรือ ? ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น คำว่า สัตว์ทั้งปวงมีความ
ตั้งอยู่ได้ด้วยอาหารนี้
ด้วยอาหารนี้ พวกเราจะรู้ได้อย่างไร ? เพราะสหชาตาหาร
ไม่มีแก่พวกอสัญญีสัตว์ฯ เฉลยว่า ภาวะแห่งสรรพสัตว์มีความตั้งอยู่
ได้ด้วยอาหาร พระผู้มีพระภาคตรัสหมายเอาปริยาย คือความที่กรรม
อันเป็นไปด้วยอำนาจแห่งมโนสัญเจตนาหาร หรืออาหารนอกนั่น แม้