ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 163
ปกรณ์นั้น ๆ
มีปกรณ์ชื่อว่าอภิธัมมาวตารเป็นต้น อธิบายอย่างนี้แล้ว
จึงสังวรรณนาความอย่างนี้ว่า ๒ ครั้งบ้าง ๓ ครั้งบ้าง ดังนี้ ฯ สอง
2 ฯ
บทว่า โวฏฺฐพฺพนเมว ปวตฺตติ ความว่า โวฏฐัพพนจิตเท่านั้น
ย่อมเกิดขึ้นบ่อย ๆ ๆ แต่ว่า ความเป็นไปแห่งจิตยังไม่ถึงโวฏฐัพพนะ
นั้นแล้ว จะกลับมาตั้งอยู่ในจักขุวิญญาณเป็นต้น ในระหว่างไม่มี ฯ
ส่วนท่านอานันทาจารย์
แสดงอธิบายในความเป็นไปแห่งวิถีจิตใน
ปริตตารมณ์นี้ว่า เมื่ออาวัชชนะบังเกิด โวฏฐัพพจิตพึงเป็นไปโดย
ความเป็นอนันตรปัจจัย แก่ชวนะที่เป็นกุศล อกุศล และกิริยา
ซึ่งเป็นฝ่ายกามาวจรเท่านั้น โดยส่วนเดียว ไม่เป็นไปโดยประการอื่น
เพราะอาวัชชนะเป็นอนันตรปัจจัยแก่กุศลแลอกุศล ท่านกล่าวไว้ว่า
อาวัชชนะเป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย แก่กุศลขันธ์ แก่อกุศลขันธ์ และ
เพราะภาวะแห่งโวฏฐัพพนะกับอาวัชชนะไม่มีอรรถอย่างอื่น เพราะ
ฉะนั้น จึงควรกำหนดปริตตารมณ์โดยความไม่บริบูรณ์ (ไม่เต็มที่)
แห่งชวนะ เพราะอาวัชชนะมีกำลังน้อย ในคราวสลบเป็นต้นไม่ควร
กำหนดโดยความเป็นไป ๒-๓ ครั้ง แห่งโวฏฐัพพนะ ฯ แม้ท่าน
อานันทาจารย์จะแสดงไว้อย่างนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ติเหตุกวิบาก
(วิบากมีเหตุ ๓) ที่ท่านกล่าวไว้โดยความเป็นอนันตรปัจจัยนั้นแล
เป็นไปด้วยอำนาจจุติจิตของพระขีณาสพทั้งหลาย ไม่ถึงความเป็น
อนันตรปัจจัยแก่จิตบางดวง เพราะฉะนั้น นักปราชญ์ไม่สามารถ
กล่าวได้ว่า แม้โวฏฐัพพนะก็ไม่เป็นอนันตรปัจจัย แก่กุศลชวนะ
และอกุศลชวนะเป็นต้น ด้วยความเป็นปัจจัยที่บกพร่อง ดุจติเหตุก