การศึกษาเหตุปัจจัยในอภิธัมมัตถสังคหบาลี อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 369
หน้าที่ 369 / 442

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้ว่าด้วยการศึกษาเหตุปัจจัยภายใต้ข้อคิดในอภิธัมมัตถสังคหบาลี โดยอธิบายสิ่งที่เป็นเหตุและปัจจัย โดยเฉพาะธรรมทั้ง 5 ที่เป็นเครื่องค้ำจุนแก่รูปและนามธรรมในปวัติกาล รวมถึงการอธิบายเกี่ยวกับอารัมมณปัจจัยและอนันตรปัจจัยที่ไม่มีสิ่งใดๆ มาขัดขวาง และเชื่อมโยงไปยังธรรมที่เกี่ยวข้องในแง่มุมของจิตและเจตสิก ซึ่งถูกกล่าวถึงอย่างละเอียดในเอกสารนี้ สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการศึกษาที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับอภิธัมมะของปัจจัยแต่ละประเภท เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการและการดึงดูดจิตสำนึก

หัวข้อประเด็น

-เหตุปัจจัยในอภิธรรม
-ความหมายและการประยุกต์ใช้งาน
-อารัมมณปัจจัย
-อนันตรปัจจัยในธรรม
-การเชื่อมโยงระหว่างจิตและเจตสิก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 369 เหตุปัจจัย ฯ มีคำอธิบายที่ท่านกล่าวไว้ว่า เป็นปัจจัยโดยฐานเป็นเหตุ คือเป็นปัจจัยโดยความเป็นเหตุฯ พึงทราบสันนิษฐานว่า ธรรมเป็น เครื่องค้ำจุน โดยอรรถว่าเป็นมูลเหตุ ชื่อว่าเหตุปัจจัย โดยสังเขปว่า (ธรรม) เป็นเหตุ โดยอรรถว่าเป็นมูล เป็นปัจจัย โดยอรรถว่า เป็นเครื่องค้ำจุน ฯ ก็เหตุปัจจัยนั้น เป็นธรรม 5 อย่าง ซึ่งเป็นเครื่อง ค้ำจุนแก่รูปซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐาน ในปวัติกาล และมีกรรมเป็นสมุฏฐาน ในปฏิสนธิกาล และแก่นามธรรมที่สัมปยุตในปวัติกาลและปฏิสนธิกาล ทั้ง ๒ โดยอรรถว่าเป็นเหตุ กล่าวคือการยังความเป็นธรรมตั้งอยู่ด้วยดี ให้สำเร็จ ดุจหนึ่งรากเป็นเครื่องค้ำจุนแก่ต้นไม้ฉะนั้น ๆ [อธิบายอารัมมณปัจจัย ๆ ธรรมชาตที่ชื่อว่าอาลัมพนะ เพราะอันจิตและเจตสิกหน่วง คือ ยึด ดุจคนทุรพลยึดวัตถุมีไม้เท้าเป็นต้นฉะนั้น ๆ จริงอยู่ จิตและเจตสิก ปรารภธรรมใด ๆ เป็นไป ธรรมนั้น ๆ ชื่อว่าเป็นอารัมมณปัจจัย แห่งธรรม (คือจิตและเจตสิก) นั้น ๆ ๆ เพราะไม่มีธรรมที่ไม่ พึงถึงความเป็นอารัมมณปัจจัยแห่งจิตและเจตสิก ฯ ปัจจัยอันเป็นใหญ่ แห่งธรรมทั้งหลายที่มีความเป็นไปเนื่องด้วยตน ชื่ออธิปติปัจจัย ฯ ชื่อ ว่าอนันตรปัจจัย เพราะอรรถว่า ไม่มีระหว่างแห่งปัจจัยนี้กับปัจจุบัน - ธรรม ฯ [อธิบายอนันตรปัจจัยและสมนันตรปัจจัย] ન ปัจจัยไม่มีระหว่างด้วยดี คือโดยดี เพราะไม่มีสัณฐาน ชื่อว่า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More