ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 41
ศัพท์ เหมือนในนิคมน์แห่งกุศลวิบากนี้ ฯ เพราะไม่มีความเป็นไป
ต่างชาติ ฯ ก็เมื่อกำเนิดและความเป็นไปต่างชาติมีอยู่ เครื่องหมาย
พิเศษพึงมีประโยชน์ ฯ แต่กำเนิดของอกุศลวิบากโดยความเป็นสเหตุกะ
ไม่มี แม้ในกาลบางคราว เพราะไม่ประกอบด้วยสัมประโยคกับด้วย
เหตุมีอโลภะเป็นต้น อันเป็นข้าศึกกัน โดยความเป็นวิบากแห่ง
และเพราะธรรมมีสภาพหาโทษมิได้เป็น
สาวัชชธรรมมีโลภะเป็นต้น
อัพยากฤตโดยตน ผิดกับสัมประโยคด้วยอกุศลธรรมมีโลภะเป็นต้น
เพราะฉะนั้น อกุศลวิบากเหล่านั้น ท่านไม่พึงให้พิเศษได้ด้วยอเหตุกบท
เพราะไม่เป็นไปต่างจากความเป็นอเหตุกะ ฉะนี้แล ฯ
[อธิบายอเหตุกิริยาจิต]
บัดนี้ เพื่อแสดงแม้อเหตุกกิริยาจิต โดยวิธี ๓ อย่าง โดยความ
ต่างแห่งกิจในอธิการแห่งอเหตุกะ ท่านอาจารย์จึงกล่าวคำมีอาทิว่า
อุเปกขาหคติ ดังนี้ ฯ จิตที่ชื่อว่า ปัญจทวาราวัชชนะ เพราะอรรถว่า
รำพึงถึงอารมณ์ที่กระทบวารทั้ง ๕ ๕ มีจักขุทวารเป็นต้น คือกระทำ
การคำนึงในอารมณ์ที่กระทบนั้น หรือไม่ให้จิตสันดานเป็นไปด้วยอำนาจ
แห่งภวังค์ น้อมไปเพื่อความเป็นวิถีจิต ได้แก่กิริยาอเหตุกมโนธาตุจิต
(มโนธาตุฝ่ายอเหตุกกิริยาจิต) ฯ
ภวังคจิตที่เป็นอนันตรปัจจัยแก่อาวัชชนจิต ชื่อว่ามโนทาวาร เพราะ
เป็นปากทางดำเนินไปแห่งวิถีจิตทั้งหลาย
ส่งวิถีจิตทั้งหลาย ฯ จิตที่ชื่อว่ามโนทวาราวัชชนะ
เพราะอรรถว่า รำพึงอารมณ์ที่มาสู่คลองในมโนทวารนั้น ด้วยอำนาจ