ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 166
เอตฺถ คือ ในมโนทวาร ฯ จิต ๔๑ ดวง ย่อมเป็นไปในมโนทวาร
เพราะจิต ๑๓ ดวง ซึ่งเป็นแผนกหนึ่งต่างหากในปัญจทวาร ด้วยอำนาจ
ทวิปัญจวิญญาณและมโนธาตุทั้ง ๓ ไม่เป็นไปในมโนทวารนั้น ๆ
ปริตตชวนนัย (นัยที่ท่านกล่าวไว้ในปริตตชวนะ) จบ 1
9
[อธิบายอัปปนาชวนะ]
ความต่างแห่งวิภูตารมณ์ไม่มี เพราะอัปปนาเกิดในเวลาอารมณ์
แจ่มแจ้ง (ปรากฏชัด) เท่านั้น ฯ สัมพันธ์ความว่า แท้จริง บรรดา
ชวนะที่เป็นมหัคคตะแล้วโลกุตตระ ๒๖ นั้น ชวนะใดชวนะหนึ่งลงสู่
อัปปนาวิถีฯ ประกอบความว่า เมื่อชวนะในชวนะหนึ่งเกิดขึ้นตาม
ลำดับ โดยชื่อว่า บริกรรม อุปจาร อนุโลม และโคตรภูแล้วดับไป ฯ
จริงอยู่ จิตดวงที่ ๑ ชื่อว่าบริกรรม เพราะเป็นบริกรรมของอัปปนา
คือเพราะปรุงแต่งอัปปนาฯ ดวงที่ ๒ ชื่อว่าอุปจาร เพราะเที่ยวไปใกล้
อัปปนาฯ แท้จริง แม้ธรรมที่ไม่ใกล้เกินไป มีความเป็นไปไม่ไกล
เกินไป ก็ชื่อว่าสมีปจารี (มีปรกติเที่ยวไปในที่ใกล้)ฯ อีกนัยหนึ่ง
ชื่อว่าอุปจาร เพราะอรรถว่า เที่ยวไปใกล้ชิดอัปปนาฯ ดวงที่ ๓ ชื่อ
ว่าอนุโลม เพราะอนุกูลแก่บริกรรมแม้ในบุรพภาค และแก่อัปปนาใน
เบื้องบนฯ ดวงที่ 4 ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบโคตรกามาวจรและ
โคตรปุถุชน เพราะอบรมคือพอกพูนมหัคคตโคตรและโลกุตตร โคตร ฯ
ชื่อทั้ง ๔ นี้ย่อมได้ในเวลาเป็นไป 4 ครั้งโดยไม่เหลือๆ แต่ในเวลา
เป็นไป ๓ ๓ ครั้งได้ตามชื่อว่าอุปจาร อนุโลมและโคตรภูเท่านั้น ณ แต่ว่า
ในอรรถกถาท่านกล่าวชื่อมีบริกรรมเป็นต้น แห่งบริกรรมอุปจาร และ