อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 332
หน้าที่ 332 / 442

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาส่วนนี้นำเสนอเกี่ยวกับอภิธัมมัตถสังคหบาลีและอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา ที่อธิบายถึงปัญญาสงเคราะห์ใน 5 ฐานและการสงเคราะห์ใน 4 ฐาน ซึ่งมีการอธิบายถึงความสำคัญของจิตและสติ รวมถึงการศึกษาสติปัฏฐาน 4 อย่างละเอียด การสร้างความเข้าใจในธรรมที่กล่าวถึงในบทนั้น เน้นให้เห็นถึงความเป็นไปทั่วถึงในอารมณ์และธรรมชาติ โดยเฉพาะการบรรลุรู้ในธรรมที่เหลืออยู่และการเห็นกาย เวทนา จิต และธรรมในทางที่ถูกต้อง ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาจิตใจในทางธรรม.

หัวข้อประเด็น

-อภิธัมมัตถสังคหบาลี
-อภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา
-สติปัฏฐาน
-ปัญญาสงเคราะห์
-ฐานจิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 332 ปัญญาสงเคราะห์เข้าได้ใน ๕ ฐาน วายามะ และเอกัคคตาแล สงเคราะห์เข้าได้ใน ๔ ฐาน จิตและสติสงเคราะห์เข้าใน ๓ ฐาน ฯ สังกัปปะเวทนาและศรัทธา บัณฑิตกล่าวว่า สงเคราะห์เข้าได้ใน ๒ ฐาน ธรรมที่เหลือ ๒๘ ท่านกล่าวว่า สงเคราะห์ลงในฐานอย่าง ละ ๑ ฐาน ฯ [อธิบายโพธิปักขิยธรรมมีสติปัฏฐานเป็นต้น] ธรรมชาติที่ชื่อว่าปัฏฐาน เพราะอรรถว่า เป็นไปทั่วถึง" อธิบาย ว่า เป็นไปในอารมณ์มีกายเป็นต้น ก็หยั่งเห็นเข้าไป ด้วยสามารถ ถือว่าไม่งามเป็นอาทิด้วย ฯ ธรรมชาติที่เป็นไปทั่วถึง" (เช่นนั้น) คือสติ ชื่อว่าสติปัฏฐาน ฯ แต่สติปัฏฐานนั้นมี 4 อย่าง ตามอำนาจ ความถืออาการว่าไม่งาม เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตน ในกาย เวทนา จิต และธรรม และตามอำนาจการละสัญญาวิปัลลาส (ความสำคัญผิด ในกายเป็นต้น) ว่า งาม เป็นสุข เที่ยง และเป็นตน เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐาน ๔ ฯ ที่เกิดแห่งส่วนที่น่าเกลียดมีผมเป็นต้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ากาย ฯ การตามเห็นกายนั้น คือการรำลึก นึกถึงกายนั้น ด้วยอำนาจบริกรรมและด้วยอำนาจวิปัสสนา ชื่อว่า กายานุปัสสนา ฯ การตามเห็นด้วยอำนาจเวทนา ซึ่งเป็นทุกข์เพราะทน ๑. แปลตามนัยโยชนาที่ว่า ปปุพฺโพ ฐา ปวตฺติย์ ถ้าถือว่า ฐา คตินิวตริย์ ก็แปลว่า ตั้งมั่น และอธิบายก็คงเป็นอย่างยิ่งนั้น ฯ ๒. หรือว่าธรรมชาติตั้งมั่น ฯ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More