ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 168
วิถีสมาบัติ ไม่มีบ่อยครั้ง เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคำว่า อปุปนาวสาเน
ดังนี้ไว้อีก ฯ ได้ยินว่า พวกนิกายันตริกะ (พวกภิกษุนิกายอื่นจากพวก
มหาวิหาร) พรรณนาความเป็นไปแม้แห่งกามาวจรชวนะ ๒-๓ ครั้ง
เพื่อความเต็มแห่งชวนะที่ ๒ ต่อจากอัปปนาที่เกิดคราวแรก ในบรรดา
โลกิยอัปปนา เพราะฉะนั้น เพื่อคัดค้านมติของพวกนิกายันตริกะนั้น
ท่านอาจารย์จึงกล่าวบทมีอวธารณะว่า ภวงคปาโตว ดังนี้ ฯ บทว่า
ตตฺถ คือ ในกามาวจรชวนะที่ประกอบด้วยญาณทั้ง 4 เหล่านั้น และ
ในชวนะที่เป็นมหัคคตะและโลกุตตระ ๒๖ เหล่านั้น ๆ อีกนัยหนึ่ง บท
ว่า ตตฺถ คือ ในอัปปนาชวนวาระนั้นๆ
[อธิบายชวนจิต]
บทว่า โสมนสฺสสหคตชวนานนุตร์ คือ ในลำดับแห่งกุศล-
ชวนะและกิรินาชวนะทั้ง ๔ ที่สหรคตด้วยโสมนัสฯ บทว่า โสม-
นสฺสสหคตาว ความว่า อัปปนาเฉพาะที่สหรคตด้วยโสมนัส ด้วย
อำนาจฌานหมวด ๔ และมรรคผลของพระอริยบุคคลผู้สุกขวิปัสสก
เป็นต้น (พึงหวังได้), แต่อัปปนาแม้สหรคตด้วยอุเบกขาไม่พึงหวัง
ได้ในลำดับแห่งชวนะที่สหรคตด้วยโสมนัส เพราะภาวะแห่งเวทนา
ที่แตกต่างกันเป็นอาเสวนปัจจัยแก่กันและกัน พระผู้มีพระภาคมิได้
ยกขึ้นไว้ในคัมภีร์ปัฏฐานฯ บทว่า ปาฏิกงฺขิตพฺพา คือ พึงยกย่อง มีคำ
อธิบายว่า พึงปรารถนา ฯ บทว่า ตตฺถาปิ ความว่า แม้ในชวนวาระ
ที่มีเวทนาอันเดียวนั้น ฯ บทว่า กุสลชวนานนุตร์ ความว่า กุศล-
ชวนะย่อมตั้งมั่นในลำดับแห่งกุศลชวนะ ประกอบด้วยญาณทั้ง ๔ อย่าง