อภิธัมมัตถสังคหบาลี - หน้าที่ 75 อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 75
หน้าที่ 75 / 442

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงการสงเคราะห์เข้าในจิตที่ประกอบด้วยฌานต่างๆ และธรรมที่เกี่ยวข้อง โดยอธิบายถึงการที่จิตสามารถเข้าสู่ฌานและความแตกต่างกันของธรรมในแต่ละระดับของจิต ได้แก่ ปฐมฌานถึงปัญจมฌาน รวมถึงอาการที่ปรากฏในอนุตตรจิตที่เป็นโลกุตตรจิต โดยมีการกล่าวถึงธรรมจำนวน ๓๖-๓๕ และ ๒๔-๓๓ ซึ่งตั้งอยู่ในอนุตตรจิต โดยมีอาการ ๕ อย่าง

หัวข้อประเด็น

-ธรรมในอภิธัมมัตถสังคหบาลี
-การสงเคราะห์จิตในฌาน
-ธรรมและจิตในโลกุตตรจิต
-อาการของจิตในฌานต่างๆ
-ปัญจมฌานและความเข้าใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 75 อนึ่ง (ธรรมเหล่านั้น) เว้นวิตก ถึงการสงเคราะห์เข้าในจิต ประกอบ ด้วยทุติยฌาน ฯ (ธรรมเหล่านั้น) เว้นวิตกและวิจาร ถึงการสงเคราะห์ เข้าใจจิต ประกอบด้วยตติยฌาน ฯ (ธรรมเหล่านั้น) เว้นวิตกวิจาร และปีติ ถึงการสงเคราะห์เข้าในจิตที่ประกอบด้วยจุตตถฌาน ฯ ธรรม เหล่านั้นนั่นเอง ที่สหรคตด้วยอุเบกขา ท่านสงเคราะห์ลงในจิตที่ ประกอบด้วยปัญจมฌาน ๆ ในโลกุตตรจิตทั้ง ๘ มีการสงเคราะห์เพียง ๕ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งฌานหมวด ๕ แม้โดยประการทั้งหมด ด้วย ประการฉะนี้ ฯ [สังคหคาถา] ธรรมทั้งหลาย คือ ๓๖-๓๕ และ ๒๔-๓๓ -๓๓ (๓๓ สองครั้ง) ตามลำดับ ตั้งอยู่ใน อนุตตรจิต (โลกุตตรจิต) โดยอาการ ๕ อย่าง ด้วยประการอย่างนี้ ฯ ๆ ๆ ก็ในบรรดามหัคคตจิต ธรรม ๓๕ คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ และโสภณเจตสิก ๒๒ เว้นวิรัติ ถึงการสงเคราะห์เข้าในจิตที่ประกอบ ด้วยปฐมฌาน (มหัคคจิต) ทั้ง ๓ ก่อน ๆ ส่วนกรุณา มุทิตา พึ่งแยก ประกอบเฉพาะอย่างต่างหากในมหัคคตจิตเหล่านี้ ฯ อนึ่ง (ธรรม ๔) เว้นวิตก ย่อมได้ในจิตที่ประกอบด้วยทุติยฌาน ๆ (ธรรม ๓๓) เว้น วิตก วิจารเสีย ย่อมได้ในจิตที่ประกอบด้วยตติยฌาน (ธรรม ๓๒) เว้นวิตกวิจารและปีติเสีย ย่อมได้ในจิตที่ประกอบด้วยจตุตถฌาน ฯ อัปปมัญญาย่อมมีไม่ได้ในจิตที่ประกอบด้วยปัญจมฌาน ๒๕ ด้วย ฯ ใน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More