อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 86
หน้าที่ 86 / 442

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงรูปแบบต่างๆ ของเจตสิกในอภิธัมมาซึ่งรวมไปถึงเจตสิกที่เป็นโสภณและอโสภณ โดยแสดงให้เห็นถึงอำนาจในการสร้างสิ่งที่ดีและการแสดงออกของเจตสิกที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังอธิบายถึงอาการของโมหะที่ส่งผลต่อจิตใจ ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้เกิดการงมงายในอารมณ์และความไม่รู้ต่อธรรมที่แท้จริงในชีวิต หากท่านสนใจศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับอภิธัมมาสามารถเข้าไปที่ dmc.tv เพื่อหาข้อมูลได้

หัวข้อประเด็น

-เจตสิกในอภิธัมม
-โสภณเจตสิก
-อโสภณเจตสิก
-โมหะและความไม่รู้
-ธรรมที่เกี่ยวข้องกับอกุศล

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา - หน้าที่ 86 เป็นไปด้วยอำนาจการสละทานวัตถุ (สิ่งของที่จะให้) มีความต้องการ ด้วยมานวัตถุที่จะพึงสละนั้นทีเดียว เหมือนนายขมังธนูมีความต้องการ จับลูกศรที่จะต้องยิงไปฉะนั้น ๆ เจตสิกที่กระจาย คือแพร่กระจายทั่วไปในโสภณจิตและอโสภณจิต อื่นจากโสภณจิตนั้น เพราะฉะนั้น เจตสิกเหล่านั้น จึงชื่อว่าปกิณณกะ ฯ โดยเพ่งถึงโสภณเจตสิก อโสภณเจตสิกนอกนี้ ก็ชื่อว่าอัญญะ (อื่น) และโดยเพ่งถึงอโสภณเจตสิกนอกนี้ โสภณเจตสิก ก็ชื่อว่าอัญญะ (อื่น) ฯ เจตสิกที่มีแก่โสภณจิตและอโสภณจิตเหล่านั้น ชื่อว่าสาธารณา เจตสิก เหล่านี้ ไม่มีสภาพเป็นอกุศลเป็นต้นอย่างเดียว ดุจอุทธัจจะเป็นต้นและ สัทธาเป็นต้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อัญญสมานเจตสิก ฯ ท่าน อาจารย์ครั้นแสดงไขธรรม ๑๓ ซึ่งมีสภาพเป็นโสภณเจตสิกและอโสภณ เจตสิกนอกนี้ ด้วยอำนาจเจตสิกที่ทั่วไปแก่จิตทุกด้วย แล้วด้วยอำนาจ ปกิณณกเจตสิก อย่างนี้ก่อนแล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงธรรมที่นับเนื่อง ในอกุศลโดยลำดับที่แสดงไฟในจิตวิภาคในหนหลัง และธรรมที่นับเนื่อง ในโสภณธรรม จากธรรมที่นับเนื่องในอกุศลนั้นก่อน จึงกล่าวคำ เป็นต้นว่า โมโห ดังนี้ ભૈ [อธิบายอกุศลเจตสิก] แต่ว่า ในอเหตุกจิตไม่มีธรรมแผนกหนึ่งต่างหาก เพราะฉะนั้น ท่านอาจารย์จึงไม่กล่าวอเหตุเจตสิกเหล่านั้นไว้ฯ สภาพที่ชื่อว่าโมหะ เพราะอรรถว่า งมงายในอารมณ์ ได้แก่ความไม่รู้ฯ โมหะนั้นมี ความปิดบังสาภพของอารมณ์เป็นลักษณะ ฯ จริงอยู่ โมหะนี้ถึงจะเป็นไป
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More