ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา - หน้
1 - หน้าที่ 359
และฐานะ ๔ มีที่สุดส่วนเบื้องต้นเป็นอาทิ ฯ ปัจจัยคืออวิชชา เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าอวิชชาปัจจัย ฯ เพราะอวิชชาปัจจัยนั้น (จึงมี
สังขาร)ฯ
[อธิบายสังขารเป็นต้น]
ન્
สภาพที่ชื่อว่าสังขาร เพราะอรรถว่า ปรุงแต่สังขตธรรม ได้แก่
กุศลกรรมและอกุศลกรรม นสังขารนั้นมี ๓ อย่าง คือ ปุญญาภิ
สังขาร ๑
ๆ
อปุญญาภิสังขาร ๑ อเนญชาภิสังขาร ๑ ฯ บรรดาสังขาร ๓,
นั้น กุศลเจตนาที่เป็นกามาวจรและรูปาวจร ๑๓ ชื่อว่าปัญญาภิสังขาร
อกุศลเจตนา ๑๒ ชื่อว่าอปุญญาภิสังขาร, อรูปเจตนา ๔ ชื่อว่าอเนญ
ชาภิสังขาร รวมเจตนา ๒๕ อย่างนี้นั่นแล ชื่อว่าสังขาร ฯ วิบากจิต ๑๕
ด้วยอำนาจแห่งปฏิสนธิกาล, ๓ ด้วยอำนาจแห่งปวัติกาล ชื่อว่า
วิญญาณ ฯ นามและรูป ชื่อว่านารูปฯ บรรดานามและรูปนั้น นาม
ในที่นี้ได้แก่ขันธ์ ๓ มีเวทนาขันธ์เป็นต้นฯ ส่วนรูป ได้แก่รูปมีกรรม
เป็นสมุฏฐาน มี ๒ อย่าง โดยแยกเป็นภูตรูปและอุปาทายรูปฯ แม้รูป
ทั้ง ๒ นั้น ในที่นี้บัณฑิตพึงทราบว่า สหรคตด้วยปฏิสนธิวิญญาณ ฯ
ในคำว่า นามรูปปจฺจยา นี้ บัณฑิตพึงทราบสเปกเสสนัย (คือวิธีที่
เหลือศัพท์มีรูปเหมือนกันไว้ศัพท์เดียว) ว่านามด้วย รูปด้วย นามรูป
ด้วย ชื่อว่านามรูปฯ
อายตนะภายใน 6 มีจักษุเป็นต้น ชื่อว่าอายตนะ, อีกอย่างหนึ่ง
ตามมติของอาจารย์บางพวก แม้อายตนะภายนอก ๖ มีรูปเป็นต้น ก็ชื่อว่า