ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 98
วิตกเป็นต้น ฯ
คำว่า ๖๖ และ ๕๕ เป็นต้น บัณฑิตพึงประกอบคามสมควรด้วย
อำนาจการนับจิตตุปบาทเป็น ๑๒๑ และนับเป็น ๘๕ ฯ ท่านอาจารย์
กล่าวคำว่า สพฺพากุศลสาธารณา (ทั่วไปแก่อกุศลจิตทุกดวง) แล้ว
กล่าวคำเป็นต้นว่า สพฺเพสุปิ (ในอกุศลจิตแม้ทั้งหมด) ดังนี้ เพื่อ
ยืนยังคำนั้นนั่นแลให้หนักแน่น (มั่นคง)ฯ จริงอยู่ ชนผู้ซึ่งดำเนินใน
กายทุจริต มีปาณาติบาตเป็นต้น แม้ทุกคนเป็นผู้ไม่เห็นโทษในปาณา
ติบาตเป็นต้นนั้นด้วยโมหะ ไม่เกลียดแต่ปาณาติบาตเป็นต้นนั้นด้วย
อหิริกะ ไม่เกรงกลัวด้วยอโนตตัปปะ และไม่สงบด้วยอุทธัจจะ เพราะ
ฉะนั้น โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ และอุทธัจจะเหล่านั้น จึงมีได้ใน
อกุศลจิตทั้งหมด ฯ ฯ เอว ศัพท์ ในบทว่า โลภสหคตจิตฺเตเสฺวว มีไว้
แม้เพื่อประโยชน์คืออธิการ (การคล้อยตาม) เพราะฉะนั้น บัณฑิต
พึงเห็นอวธารณะแม้ในคำว่า ทิฏฐิสหคตจิตฺเตสุ เป็นต้นฯ จริงอยู่
ทิฏฐิย่อมได้เฉพาะในโลภสหคตจิตเท่านั้น เพราะบุคคลผู้ยึดมั่นใน
สักกายะเป็นต้น เกิดเข้าใน (เกิดความยึดถือ) ในสักกายะเป็นต้นนั้นว่า
ของเราฯ แม้มานะก็เป็นไปเหมือนกันกับทิฏฐิ เพราะเป็นไปด้วยอำนาจ
ความเข้าในว่าเป็นเรา เพราะฉะนั้น จึงไม่เป็นไปในจิตตุปบาทด้วยเดียว
กันกับทิฏฐิ เปรียบเหมือนไกรสรราชสีห์ ไม่อยู่ในถ้ำเดียวกับราชสีห์
อีกตัวหนึ่ง ซึ่งชนิดเดียวกัน ฯ ก็มานะย่อมไม่เกิดแม้ในจิตที่มีโทสะ
เป็นมูลเป็นต้น เพราะมีโลภะเป็นปทัสถานโดยส่วนเดียว โดยความ
เป็นที่อาศัยแห่งความสิเนหาในตน เพราะฉะนั้น มานะนั้นจึงได้เฉพาะ