อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 112 อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 112
หน้าที่ 112 / 442

สรุปเนื้อหา

บทบาทและลักษณะของจิตในอภิธัมมัตถสังคหบาลีและอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของประเภทจิตและกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น มหาวิบากและสันติรณจิต ซึ่งมีบทบาทแตกต่างกันในกระบวนการทางจิตวิญญาณ พระผู้มีพระภาคทรงประกาศเกี่ยวกับองค์ประกอบของจิตที่มีกิจมากมายรวมถึงการแสดงจิตในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อการศึกษาและเข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้น

หัวข้อประเด็น

-อภิธัมมัตถ
-จิตในพระพุทธศาสนา
-กิจของจิต
-มหาวิบากจิต
-สันติรณจิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 112 ชวนะเป็นกิจ ฯ จิต ๑๑ คือ มหาวิบาก ๘ และสันติรณจิต ๓ มีตทา ลัมพนะเป็นกิจ ฯ ก็บรรดาจิต ๑๑ เหล่านั้น สันตีรณจิตที่สหรคตด้วย อุเบกขา ๒ ชื่อว่ามีกิจ ๕ อย่าง ด้วยสามารถแห่งปฏิสนธิ ภวังค์ จุต ตทาลัมพนะ และสันติรณะ ฯ มหาวิบากจิต ๔ ชื่อว่ามีกิจ ๔ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ และตทาลัมพนะ ฯ มหัคคตวิบากจิต ๔ ชื่อว่ามีกิจ ๓ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งปฏิสนธิ ภวังค์ และจุติฯ สันตีรณจิตที่สหรคตด้วย โสมนัสมีกิจ ๒ ด้วยอำนาจแห่งสันตีรณกิจและทาลัมพนกิจ ฯ โวฏ ฐพพนจิตมีกิจ ๒ เหมือนกัน ด้วยอำนาจแห่งโวฏฐัพพนกิจ และ อาวัชชนกิจ ฯ ส่วนชวนจิต มโนธาตุ ๓ และทวิปัญจวิญญาณที่เหลือ แม้ทั้งหมด มีกิจเดียว ตามควรแก่การสมภพ ฉะนี้แล ฯ [สังคหคาถา] จิตตุปบาท ชื่อว่าปฏิสนธิเป็นต้น พระผู้มี พระภาคทรงประกาศไว้ ๑๔ อย่าง โดยความ ต่างแห่งกิจ และ ๑๐ อย่าง โดยความต่างแห่ง ฐาน ฯ บัณฑิตพึงแสดงจิตที่มีกิจ ๑ และฐาน ๑ ที่มีกิจ ๒ และฐาน ๒ ที่มีกิจ ๓ และ dde ฐาน ๓ ทีมกิจ ๔ และฐาน ๔ และทีมกิจ ๕ และฐาน ๕ คือจิต ๖๘-๒-๕-๘ และ ๒ ตาม ลำดับ 1
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More