อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 365
หน้าที่ 365 / 442

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เป็นการวิเคราะห์หลักธรรมเกี่ยวกับอวิชชา ตัณหา และอุปาทานในอภิธัมมัตถสังคหบาลี โดยเน้นถึงการเกิด ความแก่ และความดับของวิญญาณ รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างอดีต ปัจจุบัน และอนาคตตามอำนาจของเหตุทั้งสามที่กล่าวถึง เช่น ตัณหา อุปาทาน และภพ โดยมีการอ้างอิงถึงบิดาแห่งพระพุทธศาสนา และแนวทางในการเข้าใจธรรมเหล่านี้อย่างถูกต้อง.

หัวข้อประเด็น

-อวิชชา
-ตัณหา
-อุปาทาน
-กรรมภพ
-ศึกษาพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 365 หาเป็นการแยกแสดงองค์ต่างหากไม่ คำว่า ตณฺหูปาทานภวาปิ คริตา โหนติ ความว่า ตัณหาและ อุปาทาน ท่านถือเอาโดยอวิชชาศัพท์ เพราะเป็นธรรมเสมอกัน โดย ความเป็นกิเลส (โดยมีสภาพเป็นกิเลส)” กรรมภพท่านถือเอาโดยสัง ขารศัพท์ เพราะเป็นเหมือนกับกรรมภพ ฯ สัมพันธ์ความว่า ก็อวิชชา และสังขาร ท่านก็ถือเอาโดยศัพท์ว่า ตัณหาอุปาทานและภพเหมือนกันฯ แม้ในคำเป็นต้นว่า ตถา นี้ บัณฑิตพึงทราบการสงเคราะห์อวิชชาและ สังขารเหล่านั้น โดยการถือเอาตัณหาอุปาทานและภพนั้น โดยนัยที่ กล่าวแล้ว ฯ ก็ท่านอาจารย์ทำในใจว่า เฉพาะความเกิด ความแก่ และความดับแห่งวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนา พระ ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ความเกิด ความแก่ และความตาย ดังนี้ จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ชาติชรามรณคฺคหเณน ดังนี้ ฯ เหตุ ๕ อย่างที่ เกิดแล้วในภพอดีตเป็นปัจจัยแก่ผลอันเป็นปัจจุบัน ตามอำนาจแห่งอวิชชา และสังขารทั้ง ๒ ซึ่งท่านกล่าวไว้แล้วโดยย่อว่า อตีเต เหตโว ปญฺจ (เหตุในอดีต ๕), และ (ตามอำนาจ) แห่งตัณหา อุปาทาน และ ภพทั้ง ๓ ที่ท่านถือเอา ด้วยอำนาจแห่งการประมวล (สงเคราะห์) ฯ คำว่า อิทานิ ผลปญฺจก ได้แก่ผล ๕ อย่าง มีวิญญาณเป็นต้น ซึ่งเกิด ขึ้นในปัจจุบันนี้ จากปัจจัยคืออดีตเหตุฯ เหตุในปัจจุบัน ๕ อย่าง เป็น ปัจจัยแก่ผลในอนาคต ตามอำนาจแห่งเหตุทั้ง ๓ มีตัณหาเป็นต้น ที่ท่าน กล่าวไว้โดยสังเขปว่า อิทานิ เหตโว ปญฺจ (เหตุในปัจจุบันมี ๕), ကေ ๑. โยชนาเป็น กิเลสสภาวสามญฺญโต ฯ က
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More