ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา - หน้าที่ 58
[วิเคราะห์เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน]
อรูปฌานที่ ๔ ชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะอรรถว่า
อรูปฌานที่ ๔ นั้น พร้อมทั้งสัมปยุตธรรมมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญา
คือสัญญาไม่มี หามิได้ เพราะไม่มีสัญญาอย่างหยาบ แต่ยังมีสัญญา
อย่างละเอียด ๆ แต่เพราะทำการทีฆะ ท่านอาจารย์จึงกล่าว เนว
สญฺญานาสญฺญ์ฯ เนวสัญญานาสัญญานั่นแล เป็นอายตนะ เพราะ
นับเนื่องในมนายตนะ และธัมมาตนะ เหตุนั้นจึงชื่อว่า เนวสัญญา
นาสัญญายตนะ และธัมมายตนะ เหตุนั้นจึงชื่อว่า เนวสัญญาทีเดียว
เพราะไม่มีกิจแห่งสัญญาที่เด่นชัด (ปรากฏชัด) กล่าวคือการถึงความ
เป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาแล้วให้เกิดความเบื่อหน่าย และจะชื่อว่า ไม่มี
สัญญา หามิได้ เพราะมีอยู่โดยความเป็นของละเอียดที่เหลือจากสังขาร
ดุจเตโชธาตุในน้ำร้อน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญา
เนวสัญญานาสัญญานั่นแล ชื่อว่า อายตนะ เพราะเป็นนิสัยปัจจัย
เป็นต้นแห่งฌานนี้พร้อมทั้งสัมปยุตตธรรม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เนว
สัญญานาสัญญาตนะ ฯ ก็ในอรูปฌานที่ ๔ นี้ การเข้าไปกำหนดฌาน
ด้วยอำนาจสัญญา เป็นเพียงตัวอย่าง แม้เวทนาเป็นต้นในฌานนั้น ก็
ชื่อว่า เนวเวทนานาเวทนา เป็นต้นเหมือนกันแล ฯ กุศลจิตที่สัมปยุต
ด้วยเนวสัญญาสัญญายตนะ ชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญายตนกุศลจิต ฯ
ก็ด้วย ปิ ศัพท์ ในบทว่า จตฺตาริปิ นี้ ท่านอาจารย์สงเคราะห์ เทศนา
๑๖ ครั้ง ด้วยอำนาจนัยที่ระคนด้วยอารมณ์และปฏิปทา และความต่าง
แห่งนัยแม้อื่นที่มาแล้วในพระบาลีฯ อรูปาวจรจิต ๔ อย่าง โดยความ