ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 64
ให้สำเร็จแล้วฉะนั้น
นั้น และเพราะผลสมาบัติเท่านั้นเป็นไปด้วยอำนาจการ
ยึดอารมณ์ คือพระนิพพาน เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะฉะนั้น
โลกุตตรกิริยาจิตจึงไม่มีแม้โดยประการทั้งปวงฉะนี้แล ฯ คำว่า ทวา
ทสากุสลานิ เป็นอาทิ เป็นการรวมการนับจิตเป็นไปในภูมิ ๔ ตาม
ที่กล่าวแล้วฯ เพื่อจะแสดงการสงเคราะห์ (รวม) ด้วยสามารถแห่ง
ชาติอย่างนี้แล้วแสดงด้วยสามารถแห่งภูมิอีก ท่านอาจารย์จึงได้กล่าวคำ
มีอาทิว่า จตุปัญญาสธา กาเม
ดังนี้ ฯ
อธิบายว่าบัณฑิตจึงกล่าวจิตในกามภพ ๕๔ พึงกล่าวจิตในรูป
ภพ ๑๕ จึงกล่าวจิตในอรูปภพ ๑๒ และพึงกล่าวจิตในหมวดธรรม ๕
อย่างอันยอดเยี่ยม ๘ ดังนี้ ฯ
ก็ในคาถานี้ จิตที่นับเนื่องในกามภพเป็นต้น โดยเป็นอารมณ์
แห่งกามตัณหาเป็นต้น แม้จะเป็นไปในภูมิอื่นจากภูมิของตน ๆ ท่าน
ก็กล่าวว่า จิตในกามภพเป็นต้น เหมือนสัตว์เดียรัจฉาน แม้เกิด
ในท้องของหญิงมนุษย์ ท่านก็สงเคราะห์เข้าในพวกสัตว์เดียรัจฉาน
เหมือนกัน เพราะนับเนื่องในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานฉะนั้น ๆ จิต
ที่ไม่นับเนื่องในภูมิไหนๆ เป็นส่วนหนึ่งแห่งหมวดโลกุตตรธรรม
๕ อย่าง ท่านกล่าวว่า จิตในโลกุตตรภูมิ (โลกุตตจิต) ดุจใน
ประโยคเป็นต้นว่า กิ่งในต้นไม้ฯ อีกอย่างหนึ่ง นิทเทสว่า กาเม
ในกามภพ และว่า รูเป ในรูปภพ โดยลบบทหลัง ๆ บัณฑิตจึงเห็น
ความสัมพันธ์ในคาถานี้อย่างนี้ว่า บัณฑิตพึงกล่าวกามาวจรจิตใน
กามภพ ๕๔ พึงกล่าวว่ารูปาวจรจิตในรูปภพ ๑๕ จึงกล่าวอรูปาวจรจิต