ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 51
แห่งนกตัวต้องการจะบินไปในอากาศฉะนั้น และดุจการบ่ายหน้าสู่
ดอกปทุมโฉบลงแห่งภมรตัวมีใจติดพันอยู่ที่กลิ่นฉะนั้น ๆ
วิจารมีความเป็นไปสงบ มิใช่ความไหวตัวอย่างแรงของจิต
ดุจการกางปีกแห่งนกตัวบินไปแล้วในอากาศ และดุจการบินวนเบื้องบน
ดอกปทุมแห่งภมรตัวบ่ายหน้าสู่ดอกปทุมโฉบลงแล้ว ฯ
ธรรมชาติที่ชื่อว่าปีติ เพราะอรรถว่า ยังกายและจิตให้เอิบอิ่ม
คือ ให้แช่มชื่นหรือให้เจริญฯ ปีตินั้นมีความเอิบอิ่มเป็นลักษณะ ฯ
อธิบายว่า มีการรับอารมณ์โดยสมควรเป็นลักษณะ ฯ
ๆ
ธรรมชาติที่ชื่อว่าสุข เพราะอรรถว่า ให้สัมปยุตธรรมเกิด
ความสบาย ฯ สุขนั้นมีอันเสวยอิฏฐารมณ์เป็นลักษณะ ดุจพระราชา
ผู้ทรงโปรดปรานรสแห่งโภชนะอันดีฉะนั้น ๆ บรรดาปีติและสุขเหล่านั้น
ความแปลกแห่งปีติปรากฏในการได้อารมณ์ ดุจปีติแห่งบุคคล
ผู้ลำบากในทางกันดาร เพราะได้เห็นน้ำที่ชายป่าเป็นต้นฉะนั้น ๆ ความ
แปลกแห่งสุขปรากฏในการเสวยอารมณ์ตามที่ได้แล้ว (ดุจความสุข)
ในการดื่มน้ำตามที่พบแล้วเป็นต้น (แห่งบุคคลผู้ลำบากในการเดินทาง
กันดาร) ฉะนั้นๆ
[อธิบายองค์ฌาน]
จิตที่ชื่อว่าเอกัคคะ เพราะอรรถว่า มีอารมณ์เลิศอย่างเดียว เพราะ
ไม่มีความฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ฯ ภาวะแห่งจิตมีอารมณ์เลิศ
อย่างเดียวนั้น ชื่อว่าเอกัคคตา คือสมาธิ ฯ สมาธินั้น มีอันไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นลักษณะ ฯ จริงอยู่ จิตที่สัมปยุตด้วยอำนาจแห่งสมาธินั้นย่อมเป็น